เพลงบอกเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งในเทศกาลต่าง ๆ ทั่วไปของชาวใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ตอนบนและตอนกลาง อุปกรณ์ในการเล่น ได้แก่ ฉิ่งและคณะผู้ชับร้อง ชาวใต้ส่วนใหญ่เชื่อว่าเพลงบอกมาจากการบอกกล่าว เพลงบอกเป็นการละเล่นที่นอกเหนือจากให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องสงกรานต์ เช่น ประวัติความเป็นมาของสงกรานต์ ชื่อของนางสงกรานต์ และความรู้เรื่องอื่น ๆ เช่น คำสอน วัฒนธรรมประเพณี ลักษณะการละเล่น พอถึงปลายปี เดือนสี่ เดือนห้า เป็นช่วงเวลาที่ชาวนาในภาคใต้ส่วนมากเก็บเกี่ยวเสร็จ พอพลบค่ำจะตระเวนไปตามหมู่บ้านโดยมีคนในหมู่บ้านเป็นผู้นำทางและคนปลุกเจ้าของบ้าน เมื่อเจ้าของบ้านเปิดประตู แม่เพลงจะขับเพลงบอกขึ้นในทันที เนื้อความตอนแรกมักจะเป็นบทไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกล่าวชมชาวบ้าน เจ้าบ้านมีรางวัลให้กับคณะเพลงบอก และคณะเพลงจะตระเวนต่อไปจนเช้า เพลงบอกคณะหนึ่ง ๆ มีผู้เล่นไม่มากนัก ได้แก่ แม่เพลง 1 คน และลูกคู่อีก 4 คน ส่วนดนตรีประกอบมีเพียงอย่างเดียวคือ ฉิ่ง การร้องเพลงบอกใช้ภาษาถิ่นใต้ ใช้ปฏิภาณร้องไปตามเหตุการณ์ที่พบเห็น วิธีเล่นหรือขับเพลง สำหรับวิธีการขับเพลงบอก เมื่อแม่เพลงร้องจบวรรคแรกลูกคู่ก็รับครั้งหนึ่งโดยรับว่า “ว่าเอ้ว่าเห่” พร้อม ๆ กัน ต้องตีฉิ่งให้เข้ากับจังหวะ ในเพลงบอกบทหนึ่ง ๆ มีจำนวนวรรคอยู่ 4 วรรค วรรคหนึ่ง ๆ มีจำนวนคำไม่แน่นอน
ลุงสมพงศ์ อินทสระ (ศิลปินเพลงบอกและอดีตกำนัน ต.ปากรอ) เป็นชาวปากรอโดยกำเนิดมีความสนใจในเรื่องของบทกลอนมาตั้งแต่เด็ก เริ่มเรียนรู้การว่าบทกลอนตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้นประถม จนกระทั่งอายุ 30 ปี (พ.ศ.2520) จึงสามารถว่ากลอนมโนราห์ได้ (กลอนสด) ในขณะเดียวกันได้ศึกษาเพลงบอกซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง จนกระทั่งปี 2550 ลุงสมพงศ์ได้เขียนบทเพลง ที่เกี่ยวกับการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประโยชน์ของตาลโตนด ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชุมชนปากรอ
เลขที่ : ต. ปากรอ อ. สิงหนคร จ. สงขลา 90330
- คุณลุงสมพงษ์ อินทสระ
- Rujiya1995@gmail.com : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ :
- 0897772147