SP-90330-00002
พิธีลอยเคราะห์ทางน้ำ
Boat floating tradition
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
SP:Social Practices, ritual and festive events
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
ข้อมูล/ประวัติ
พิธีลอยเคราะห์ทางน้ำ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้มีพระคุณ คือ พระแม่คงคา พระแม่ธรณี เจ้าที่เจ้าทางและผีบรรพบุรุษที่ชุมชนได้อาศัยทำมาหากินทั้งบนดินและในน้ำ โดยชุมชนมีความเชื่อว่าการลอยเคราะห์ทางน้ำจะเป็นการส่งโรคภัยไข้เจ็บให้พ้นไปจากหมู่บ้าน และยังเป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจะช่วยกันทำแพแบบง่าย ๆ สำหรับใส่สิ่งของเครื่องสักการะบูชา ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่หากมีสุขภาพไม่ดี เจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะมีหมอบ้านทำพิธีให้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ประกอบด้วย ต้นกล้วย ตัดเป็นท่อนทำเป็นกระทง มีกระจาดวางรองด้วยใบตอง มีถ้วยเล็ก ๆ เป็นกระทงวางของไหว้ เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ข้าวสุก หมาก พลู ธูปเทียน เมื่อหมอบ้านทำพิธีไหว้เสร็จแล้ว ผู้ที่จะทำการสะเดาะเคราะห์ก็จะนำเคราะห์ไปลอยในทะเลสาบสงขลา ทำให้เกิดความสุขใจ หมดทุกข์ หมดโศก เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมา เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันพิธีลอยเคราะห์ทางน้ำได้สูญหายไปจากพื้นที่แล้ว


ที่ตั้ง
เลขที่ : วัดป่าขาด หมู่2 ต. ป่าขาด อ. สิงหนคร จ. สงขลา 90330
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- นายชิด
ผู้บันทึกข้อมูล
- Rujiya1995@gmail.com : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ :
ช่องทางติดต่อ
- 0841942439
มีผู้เข้าชมจำนวน :328 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 01/05/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 01/05/2022