TC-31000-00002
ว่าวแอกโบราณ
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
งานช่างฝีมือดั้งเดิม
TC:Traditional Craftsmanship
ข้อมูล/ประวัติ
จากคำบอกเล่าของนายนาค ตระกูลรัมย์ ชาวบ้านบุตาแพง ตำบลห้วยราช อำเภอห้วยราช เล่าว่าตนเองเป็นผู้มีความชอบและสนใจเรื่องการทำว่าวมาตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะว่าวแอกที่มีเสียงโด่ดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จึงได้เสาะหาเรียนรู้วิธีการทำว่าวมาจากญาติผู้ใหญ่ และมีโอกาสได้เรียนรู้การทำว่าวจากทั้งผู้รู้ภายในและภายนอกชุมชน จนกระทั่งสามารถทำว่าวแอกได้อย่างชำนาญ เริ่มจากการนำไม้ไผ่แก่อายุประมาณ 1-2 ปี นำมาเหลาให้เป็นเส้นเรียวยาวเพื่อไปประกอบเป็นโครงว่าว มีลักษณะเป็นรูปปีก 2 ช่วง ปีกบนจะมีความยาวและใหญ่ เรียกว่า “แม่” ปีกล่างจะมีขนาดเล็กและสั้นกว่า เรียกว่า “ลูก” ในบางพื้นถิ่นจะเรียกว่าวชนิดนี้ต่างกัน อธิ “ว่าวแม่ลูก” หรือ “ว่าวสองห้อง” ในส่วนด้านล่างของตัวว่าวจะมีหางยาวเป็นเส้นคู่ทำจากใบตาล หรือในยุคใหม่มีการประยุกต์ใช้เป็นริบบิ้นแทน ทั้งนี้เพื่อให้ว่าวเกิดความสมดุลและทรงตัวได้อย่างสวยงามเมื่อทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ส่วนหัวของว่าวจะมีแอก หรือสนูติดอยู่ มีลักษณะเป็นรูปธนูขึงด้วยเชือก โดยการนำใบตาลอ่อนไปลนไฟแล้วเจาะคล้องถ่วงด้วยขี้สูด/ชันโรงพันเสริมด้วยรังไหม (กันขี้สูดหลุด) และนำไปผูกติดเข้ากับเชือก จึงทำให้เกิดเสียงเวลาต้องลม ในตัวว่าวนั้นจะนำกระดาษถุงปูนหรือ กระดาษสีกากี/สีน้ำตาลมาติดด้วยกาวแป้งเปียก ในบางครั้งก็มีการวาดตกแต่งลวดลายและสีสันให้กับตัวว่าวอีกด้วย โดยในทุก ๆ ปีจะมีการนำว่าวไปประกวดแข่งขันมหกรรมว่าวอีสาน ณ สนามมหาวิทยาลัยรามคำแหง อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์


ที่ตั้ง
เลขที่ : 103 บ้านบุตาแพง หมู่ที่ 5 ต. ห้วยราช อ. ห้วยราช จ. บุรีรัมย์ 31000
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- นายนาค ตระกูลรัมย์
ผู้บันทึกข้อมูล
- ดร.จิรายุฑ ประเสริฐศรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ :
ช่องทางติดต่อ
- 08 5309 0897
มีผู้เข้าชมจำนวน :584 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 17/11/2021 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 17/11/2021