PA-33180-00052 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]
รำชะเนียง
-
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
ศิลปะการแสดง
PA:Performing Arts
ดนตรี
นาฏศิลป์และการละคร
ข้อมูล/ประวัติ
ชะนาง​/ชะเนียง​ อุปกรณ์หาปลาโบราณ​ ปัจจุบันใช้กันน้อยลง​ แต่ยังคงมีติดบ้านไว้ด้วยความเชื่อว่าชะนางช้อนเงินช้อนทอง​ ช้อนโชคลาภ​ ช้อนความสุข​ ความอุดมสมบูรณ์สู่ครอบครับ​ เป็นงานหัตถศิลป์และความเชื่อของชาวสี่เผ่าไทไพรบึงที่ยังคงพบเห็นกันทั่วไป​ และได้ประยุกต์มาเป็นการแสดงประจำเผ่าเยอ​ บ้านปราสาทเย​อ​จ จากวิถีชีวิตการทำมาหากินด้วยการใช้ชนาง นำมาประยุกต์เป็นท่ารำที่งดงาม เป็นการศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลุ่มชาติพันธุ์เยอ ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับวิถีการทำมาหากินโดยใช้อุปกรณ์พื้นบ้านที่เรียกว่าชะเนียง เป็นเครื่องจักสานจากไม้ไผ่คุณลักษณะเหมือนสวิง การแสดงใช้ผู้แสดงจำนวน 10-12 คน ใช้เวลาในการแสดงประมาณ 6 นาที สามารถเพิ่มจำนวนคนแสดงได้ในกรณีที่ต้องการแสดงในเทศกาลต่างๆ มีลักษณะการแสดงกายแบบพื้นบ้านที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เยอคือผ้าถุงโฮล เสื้อเก็บ
ที่ตั้ง
เลขที่ : ต. สุขสวัสดิ์ อ. ไพรบึง จ. ศรีสะเกษ 33180
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- ธีรพงศ์ สงผัด
ผู้บันทึกข้อมูล
- นางจุฑามณี รุ้งแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ : 2566 Open Call
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :170 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 20/03/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 09/07/2024