AR-90000-00009
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
City Pillar Shrine, Songkhla City Pillar Shrine
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
สถาปัตยกรรม
AR:ARchitecture
ศาสนสถาน
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
แหล่งพิธีกรรม
ข้อมูล/ประวัติ
1.ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาสร้างเมื่อ พ.ศ.2538 ด้วยเงินบริจาคของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่นับถือศาสนาพุทธ และมีความศรัทธาต่อเทพเจ้ากวนอู เทพผู้มีความจงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรม และซื่อสัตย์เป็นเลิศ 2.ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่าสงขลา ปัจจุบันมีการจัดพิธีกรรมไหว้บรรพบุรุษของชาวจีนในทุกขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี ซึ่งจะมีพีธีไหว้เจ้าร้อยแปดองค์ เจ้าพ่อกง เจ้าแม่ทับทิม และเจ้าแม่แห่งโชคลาภที่ชาวไทยเชื้อสายจีนนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคล และมีความสุขความเจริญในการประกอบอาชีพ ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/22085 3.ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจาก พระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ฯ ตรงกับปีขาล จัตวาศกศักราช 1204 ตรงกับ พ.ศ. 2385 โปรดให้จัดการฝังหลักไชยเมืองสงขลา ทรงพระราชทานไม้ชัยพฤกษ์หลักไชยต้นหนึ่ง ต้นเทียนไชยเล่มหนึ่ง พร้อมด้วยเครื่องไทยทานต่างๆ และทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จพระอุดมปิฎก ประธานสงฆ์ฐานานุกรม 8 รูป ออกมาเป็นประธาน กับพระราชครูอัษฎาจารย์พราหมณ์ กับพราหมณ์ 8 นาย ออกมาเป็นประธานในการฝังเสาหลักเมืองสงขลา ครั้น ณ เดือน 4 ขึ้น 12 ค่ำ เวลาเช้าโมงหนึ่งกับ 10 นาที ได้อุดมฤกษ์ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) กับ พระครูอัษฎาจารย์พราหมณ์ เชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ลงฝังที่กลางเมืองสงขลา ปรากฏอยู่ทุกวันนี้เป็นระยะเวลา 160 ปี 3.ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา เป็นศาลเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนานคู่บ้านคู่เมืองสงขลา ซึ่งในอดีตเป็นที่อาศัย และย่านการค้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของคนจีนในจังหวัดสงขลา 4.ทางเข้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา จะมีสิงโตคู่ อยู่หน้าทางเข้า การวางรูปปั้นสิงห์จะต้องวางเป็นคู่ โดยวางสิงห์เพศผู้ไว้ทางซ้าย และสิงห์เพศเมียไว้ทางขวา ตามตำนานโบราณเล่าว่า สิงห์ตัวที่อยู่ตำแหน่งเสือขาว (หันหน้าออกด้านขวามือ) มีบรรดาศักดิ์เป็น “เส้าเป่า” เป็นสิงห์เพศเมีย มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ให้กับเจ้าชายของราชวงศ์ และสิงโตตัวที่อยู่ตำแหน่งมังกรเขียว (หันหน้าออกทางซ้ายมือ) มีบรรดาศักดิ์เป็น “ไท่ซือ” เป็นสิงห์เพศผู้ มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ของกษัตริย์ หรือ ฮ่องเต้ วิธีสังเกตเพศของสิงห์คือ สิงห์เพศผู้ เท้าหน้าจะเหยียบลูกบอล และสิงห์เพศเมีย เท้าหน้าจะเหยียบลูก 5.ศาลหลักเมืองสงขลา เป็นโบราณสถานสมัยรัตนโกสินทร์ ลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบเก๋งจีน และกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนศาลเจ้าหลักเมืองเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 6.ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา เป็นศาลเจ้าแห่งเดียวในโลก ที่ประดิษฐานทั้งเสาหลักเมือง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามคติพราหมณ์ และเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามคติจีน อยู่ร่วมกันในอาคารเดียว จึงเป็นที่รวมของศรัทธาของคนจากทุกสารทิศ องค์เทพที่ประดิษฐานในศาลเจ้า มีดังนี้ เทวดาฟ้าดิน (ถี่ก้อง) เสาหลักเมือง เจ้าพ่อหลักเมือง (เซ่งท๋องเหล่าเอี๋ย) ไท่โส่ยเหล่าเอ๋ย เจ่เทียนไต่เส่ง จ่ายสิวเหล่าเอี๋ย พระเสื้อเมือง เจ้าแม่ทับทิม (ม่าจ้อโป๋ หรือ เทียนส่องเส้งโป้) อ๋องโบ้เหนี่ยวเหนียว เจ้าแม่ลิ้มกอเหนียว (หลิมฮู้กอเหนี่ยว) พระครูหมอ (จ้อชูก็อง) ไท่ส่องโล่กุ้น เซ้งไต่เต่ ตี่ฮู้อ๋องเอี้ย พระทรงเมือง เจ้าพ่อเสือ เจ้าแม่กวนอิม เสด็จพ่อ ร.5 พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) หมึงสิน ที่มา : https://www.bloggertrip.com/songkhlacitypillarshrine/


ที่ตั้ง
เลขที่ : ถนนนางงาม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ต. บ่อยาง อ. เมืองสงขลา จ. สงขลา 90000
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- คุณเตชธร ตันรัตนพงศ์ คุณจักรกฤษณ์ ภัทรนิตย์
ผู้บันทึกข้อมูล
- ผศ.ดร.กรฤต นิลวานิช : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา :
ช่องทางติดต่อ
- 0827311696
มีผู้เข้าชมจำนวน :628 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 15/08/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 15/08/2022