CS-44190-00010
ห้วยน้ำค้าง(ห้วยวังแสง)
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
พื้นที่วัฒนธรรม
CS:Cultural Space
พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ
ข้อมูล/ประวัติ
ห้วยน้ำค้าง(ห้วยวังแสง) ห้วยน้ำค้างหรือห้วยวังแสงอยู่ทางทิศตะวันตกเรื่อยมาจนถึงฝั่งทิศเหนือของหมู่บ้านเป็นสายน้ำสำคัญที่คนในชุมชนใช้อุปโภคบริโภค ในอดีตพื้นที่ของห้วยมีวังต่างๆหลายที่ เช่น วังอีเห็น วังขี้หนู วังแสง วังต่างๆจะปรากฏปลาและสัตว์ต่างๆเป็นจำนวนมาก พ.ศ.2518 สมัยรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีการขุดลอกห้วยหนองแสงทำให้ห้วยมีความลึกและกว้างขึ้น รวมทั้งมีการสร้างฝายกั้นน้ำทำให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังมีการสร้างถนนริมห้วยทำให้เป็นเส้นทางสัญจรตามริมห้วย ห้วยน้ำค้างไม่เพียงเป็นแหล่งน้ำสำคัญเท่านั้นยังเป็นที่ตั้งของศาลปู่ตาของชุมชนที่คนในชุมชนเคารพนับถือและมีประเพณีไหว้ผีปู่ตาในทุกๆปี ห้วยน้ำค้างหรือห้วยวังแสงจึงมีความสำคัญของชุมชนทั้งด้านอุปโภคบริโภค ที่มาของชื่อบ้านนามเมือง สถานที่ตั้งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชุมชน ห้วยดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนบ้านวังแสงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


ที่ตั้ง
เลขที่ : บ้านวังแสง ต. วังแสง อ. แกดำ จ. มหาสารคาม 44190
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- นางคำพร หินตะ
ผู้บันทึกข้อมูล
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :591 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 15/11/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 15/11/2022