สลากภัต (บาลี: สลากภตฺต) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎก เป็นชื่อเรียกวิธีถวายทานแก่พระสงฆ์วิธีหนึ่ง โดยการจับสลากเพื่อแจกภัตตาหารหรือปัจจัยวัตถุที่ได้รับจากผู้ศรัทธาถวาย เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธาที่มีปัจจัยวัตถุจำกัดและไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งหมดได้[1]
โดยสลากภัตนับเนื่องในสังฆทานที่มีอานิสงส์มาก เพราะถือว่าแม้จะตั้งสลากถวายกับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่จับสลากได้ ย่อมเท่ากับถวายกับพระสงฆ์ทั้งหมด เพราะสลากที่จับนั้นพระสงฆ์ทุกรูปในอารามนั้นมีสิทธิ์ได้ นอกจากนั้นสลากภัตยังเป็นหลักการในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเท่าเทียมกันและสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกันแก่คณะสงฆ์
ในประเทศไทย มีประเพณีสลากภัต ภาคเหนือเรียกว่า ประเพณีทานก๋วยสลาก ตามวัดต่าง ๆ โดยจัดในช่วงเดือน 6 จนถึงเดือน 8 ซึ่งเป็นช่วงผลไม้อุดมสมบูรณ์ โดยมีการรวมตัวของคณะศรัทธาทั้งหมู่บ้านนำผลไม้และสำรับคาวหวานไปตั้งเป็นสลากถวายพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ เป็นประเพณีใหญ่สำหรับหมู่บ้านและวัดนั้น ๆ โดยในแต่ละภูมิภาคมีรายละเอียดการจัดประเพณีแตกต่างกันไป
ในงานตานสลากภัตรวัดพระธาตุดอยตุงจะจัดในช่วง ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12 เหนือ จะตรงกับเดือน 10 ของภาคกลาง โดยงานถวายทานสลากภัตรวัดพระธาตุดอยตุงจะจัดเป้นวัดแรกในที่ราบเชียงแสนทั้งหมด ห้ามไม่ให้วัดไหนในพื้นที่ราบเชียงแสนจัดงานสลากภัตรก่อนวัดพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป้นประเพณีปฏิบัติเช่นนี้ในทุกๆปีสืบมากจนถึงปัจจุบัน
เลขที่ : วัดพระธาตุดอยตุง ต. ห้วยไคร้ อ. แม่สาย จ. เชียงราย 57220
- นางสุพรรณี เตชะตน
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : 2566 Open Call
- 0835688657