พระญามังรายในเชื้อเครือเจ้าแสนหวีฟ้า
......""ลูนมานางก็ทรงครรภ์ได้ 10 เดือน ก็ประสูติได้ลูกชายในปีจุลศักราช 590 ตัว แม่นศักราชโลก 1228 ตัว ดั่งลูกชายนางคำกายจำเริญใหญ่เต็มเดือนมา ท้าวรุ่งแก่นชายตนเป็นพี่นางคำกายนั้น ก็จึ่งชักชวนเอานางพญาเมืองลื้อไปหลอนเดือนมงคลการแก่หลานถึงเมืองเชียงราย เจ้าก็มาใส่ชื่อหลานว่า "มังคละนารายณ์" ลูนมาจึ่งได้ชื่อว่าท้าวมังรายหั้นแล ท้าวรุ่งแก่นชายหลอนเดือนหลานตนเสียแล้วก็พอกถึงเมืองตนหั้นแล
ดั่งท้าวรุ่งแก่นชายอยู่ภายเมืองลื้อก็ใจติดหลานตนมากนัก จึ่งแต่งคนไปเยี่ยมย่องช่องไชหลานบ่อขาด ดั่งคนใช้พอกมาไหว้สาว่า หลานเจ้าใหญ่มาหุมเล่นหมากข่าง ท้าวรุ่งแก่นชายรู้แล้วก็หื้อคนเอาคำหล่อเป็นหมากข่างส่งไปหื้อหลานเล่น คนใช้พอกมาเสียแล้วคืนมาไหว้สาแถมว่า หลานเจ้าหุมเป่าปี่ ท้าวรุ่งแก่นชายคืนหื้อสล่าปี่เอาคำหล่อเป็นปี่ส่งไปหื้อหลานหั้นแล
ย้อนว่า นางคำกายไปเป็นนางเชียงรายดั่งท้าวรุ่งแก่นชายตนพี่ จึ่งเอาเมืองพยากและเมืองหลวงพูคาข่าปันหื้อน้องเขยตนเป็นพญาเชียงรายถึงกาลบัดนี้ ท้าวรุ่งแก่นชายมีลูกชาย 1 ชื่อว่า ท้าวแรงหลวง ท้าวรุ่งแก่นชาย เมื่อรับเมืองอายุได้ 14 ปี เป็นเจ้าได้ 22 ปี อายุได้ 35 ปี จุติในปีจุลศักราช 608 ตัว ศักราชโลกปี 1246 ตัวแล"....
พระญามังรายในเอกสารตำนานพระธาตุดอยตุง
......"เจ้าฤาษีก็บอกประวัติข่าวสารแก่พญามังรายนะมหาราชตนเสวยราชสัมปัตติในเมืองยวน แล
มังรายนะมหาราชก็มีโสมนัสชมชื่นยินดี แล้วก็หื้อโกศเงินอัน ๑ ซ้อนโกศแก้ว แล้วซ้อนถะไหลแก้วบ่ทมราค และเครื่องสักการบูชาทังมวล มีจตุรังคเสนาเป็นยัสสบริวาร นำธาตุพระพุทธเจ้าขึ้นมาสู่จอมดอย กับด้วยอรหันต กับฤาษีเจ้าทังหลาย ๕๐๐ ตน แล
ที่นั้น สุรเทโวฤาษีเอาโกศธาตุพระพุทธเจ้าตั้งไว้เหนือหินก้อน ๑ สงสฐานดั่งหมากนาวตัดเกิ่งนั้น ก็อธิษฐานจมลงในหินก้อนนั้น ประมาณ ๗ ศอก แล เหตุดั่งอั้น ธาตุพระพุทธเจ้าปรากฏตั้งอยู่ในหินก้อนนั้น ๖๕๐ พระองค์ แล ธาตุพระพุทธเจ้าก็เบ่งฉัพพรรณรังสี ๖ ประการ ปรายปาฏิหาริย์ทั่วสกลเมืองยวนทังมวล ส่องแจ้งเสี้ยงวันคืนทังมวล ประดุจดั่ง จนฺทมณฑล ได้พันดวงนั้น แล
พระมังรายนะมหาราชอยู่อุปัฏฐากมหาธาตุเจ้ากับตาปสฤาษีเจ้าทังหลายตามราชอัชฌาสัยแล้วก็ทานมิลักขุ ๕๐๐ ครัว ก็หยาดน้ำทักขิโณทกหมายทานหื้ออุปัฏฐากมหาธาตุเจ้า ก็ปลงราชอาชญาคามเขตรอดทุกกล้ำแล้ว หื้อชาวมิลักขุ ๑๒๕ ครัว (อยู่แต่ละทิศดังนี้) ปุริมทิศ กล้ำวันออกมหาธาตุเจ้า ๑๒๕ ครัว อยู่ทักขิณทิศ ๑๒๕ ครัว อยู่ปัจฉิมทิศ ๑๒๕ ครัว อยู่อุตตรทิศ ๑๒๕ ครัว แล ชาวมิลักขุทังหลาย ๕๐๐ ครัว หื้อเขาพิธิ เลี้ยงชีวิต ในโขงเขตมหาธาตุเจ้า หื้อเขาสัจจะศีล ๕ ศีล ๘ ทุกเมื่อ หื้อเขาอยู่อัปฏฐากมหาธาตุเจ้า หื้อบ้านเมืองวุฒิจำเริญรุ่งเรืองสวัสดี
มังรายนสบถไว้ว่า “บุคคลผู้ใดใช้สอยมิลักขุทังหลายนี้เสมอดั่งใช้ลูกสิกข์พระพุทธเจ้า นั้น แล เหตุเป็นข้าโอกาสหยาดน้ำเผ็ดเค็ม” พระองค์เราสบถไว้ว่า “บุคคลผู้ใดล่วงอาชญากูราช หื้อนิราศคลาดคลาจากสัมปัตติ ชายา ปิยบุตตา บุตตี ทารญาติสาโลหิตา ในภาวะอันนี้อันหน้า ดีหลี เต๊อะ มังรายนะมหาราชสบถดั่งนี้แล้ว ก็ ปณามคารว สกฺกจฺจคารว ครบนบพระชินธาตุเจ้า แล้วมีจตุรังคเสนาเป็นบริวารก็เสด็จเมือสู่นิเวศน์แห่งตน
(ตำนานพระธาตุดอยตุงฉบับวัดห้วยไคร้ใหม่ อ.แม่สาย)
เลขที่ : เมืองเชียงราย ต. เวียง อ. เมืองเชียงราย จ. เชียงราย 57000
- นายภูเดช แสนสา
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : 2566 Open Call
- 081 - 5307861