“…ลวจังกรเทวบุตรค็รับเอาคำพระญาอินทาว่า สาธุ ดีดีแล ว่าอั้น แล้วค็จุตติแต่ชั้นฟ้าลงมากับปริวารแห่งตนพันหนึ่ง ก่ายเกินเงินทิพแต่ชั้นฟ้า นัยยะ 1 ว่าก่ายแต่ปลายดอยทุงลงมาเอาปฏิสันธิ โอปปาติกา โสฬสวสฺสุทฺเทสิโก ราชกุมาโร วิย เกิดมาเปนปุริสสามญะ เปนดั่งราชกุมารอันได้ 16 ขวบเข้า ทรงวัตถาภรณะเครื่องง้าอลังการนั่งอยู่เหนืออาสสนาใต้ร่มพัทระ คือว่าไม้ทันควรสนุกใจ มีที่ใกล้แม่น้ำสายในเมืองชยวรนคอร คือว่าเมืองเชียงลาว…”
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
“…ยังมีเทวบุตต์ตน 1 เลงหันยังเมืองเชียงลาวที่นั้น เปนที่ตั้งแห่งมหากระสัตราพายหน้า จิ่งก่ายเกินเงินทิพพ์แต่ชั้นฟ้าลงมาไนยะ 1 ว่าปลายดอยท่าดอยทุง ลงมาเอาปฏิสนธิในร่มไม้พันธรตัน 1 คือว่าไม้ทัน เปนโอปปาติกะกับบริวารพัน 1 ฅนทังหลายหันเกินเงินอันนั้น เปนอาจาริยะนักจิ่งเรียกกันมาดู เกินอันนั้นก็ปุดขึ้นเมื่ออากาศพายบน ฅนทังหลายผ่อดูเกินอันนั้นยัง จิ่งร้องว่า เงินยาง ว่าอั้น เมืองเชียงลาวที่นั้นลวดได้ชื่อว่า เมืองเงินยัง เพื่ออั้นแล แล ไนยะ 1 ว่าไม้พัทธรต้นนั้นใหญ่สูงนัก มีต้นอันขาวเป็นดั่งเงินนั้น ตั้งอยู่(กลางต้น)ยางอัน 1 ฅนทังหลายจิ่งเรียกว่า เงินยาง เพื่ออั้นแล…”
พื้นเมืองเชียงรายเชียงแสน
“…อยู่บ่นานเท่าใด ช้างมังคละเจ้ามังรายปล่อยไพหัวดอยหนวันออก เจ้าไพตามรอยช้าง หันประเทสที่ 1 ข้างริมน้ำแม่กก มีม่อนดอยสูงสะเกิงงามนัก ท้าวจิ่งคระนิงใจว่า เมื่อปู่คูเจ้าลาวจงส้างบ้านหื้อปู่คูเจ้าลาวเกล้าอยู่ ได้ยินว่าเพิกตีนดอยผาเลาวันนั้น เมื่อปู่คูเจ้าลาวเคียงสร้างเมืองเงินยางค็จิ่มตีนดอยทังสาม คือ ดอยทุง ดอยท่า ดอยย่าเถ้าวันนั้นดีหลี เหตุดั่งนั้น ควรคูกะทำม่อนดอยหื้อเป็นสะดือเมือง คือท่ำกลางเมือง ควรชะแล…”
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
“…พระมหากัสสปเถระเจ้าจึงบอกเล่าแก่พระเจ้าอชุตราชให้ทราบพุทธพยากรณ์ไว้ ณ ดอยดินแดงในหมู่ดอยสามเส้าอันเป็นที่อยู่ของหมู่ลาวจก นั้น พระเจ้าอชุตราชจึงให้หาผู้เป็นหัวหน้าพวกลาวจกมาเฝ้า แล้วพระราชทานทองคำแสนกหาปณะให้เป็นค่าที่แก่ลาวจก ขอเอาที่แดนของลาวจกเป็นที่สร้างสถูป มีอาณาเขตแต่องค์พระสถูปออกไปโดยรอบด้านละ 3,000 วา เป็นบริเวณพระสถูปนั้น
เมื่อสร้างพระมหาสถูปนั้นให้ทำธงตะขาบใหญ่ยาวถึงพันวาปักไว้บนดอยปู่เจ้า หางธงปลิวไปเพียงใดกำหนดหมายเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้น เหตุฉะนี้ดอยนั้นจึงปรากฏนามว่า ดอยตุง ดอยธง ครั้นการก่อพระสถูปนั้นสำเร็จแล้วเชิญพระบรมธาตุบรรจุไว้ในมหาสถูปและมีการฉลองแล้ว พระมหากัสสปเถรเจ้าก็กลับไปจากโยนกมหานคร…”
"...แต่เดิมเรียกรวมทั้งแนวเทือกเขาว่า “ดอยสามเส้า” หรือ “ดอยก้อนเส้า” ด้วยผู้คนในอดีตมองเห็นเป็นภาพที่ใกล้ตัวเหมือนก้อนเส้าที่ใช้ก่อไฟประกอบอาหารทุกครัวเรือน
มีการเรียกขานและบันทึกในเอกสารโบราณตำนานต่างๆ จนกระทั่งอย่างช้าในช่วงทศวรรษ 2480 ปรากฏมีการเรียกชื่อใหม่และได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบันในนาม “ดอยนางนอน”..."
(ภูเดช แสนสา)
"... และเมื่อคำว่า “ดอยนางนอน” ได้เกิดขึ้น และถูกใช้อย่างแพร่หลายก็ได้สร้าง “ตัวตนและเพศสภาพ” ของผีในพื้นที่ดังกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้นผ่านการรับรู้ในรูปแบบ “เจ้าแม่ดอยนางนอน” ผู้ดูแลผืนป่าและขุนน้ำ..."
(ชนินทร์ เขียวสนุก)
"ทีนี้ จักกล่าวตำนานมหาธาตุพระพุทธเจ้ามีในภูเขาตั้งอยู่ท่ามกลาง เป็นเฉลิมเกศเกล้าเกศีนครราชธานีศรีเมืองยวนเชียงแสนแล
.....ยังมีภูเขา ๓ อัน ตั้งอยู่ปัจฉิมทิศแห่งชยบุรี แล ล้ำภูเขา ๓ อันนั้น อัน ๑ ชื่อภูเขาท่า ตั้งอยู่ทิศ อุตตร กล้ำเหนือ อัน ๑ ชื่อภูเขาย่าเจ้า อยู่ท่ามกลาง อัน ๑ ชื่อ ภูเขาปู่เจ้า ตั้งอยู่ทางทักขิณะ แล้วลำดับเป็นดั่งก้อนเส้าประสุมกันนั้น
.....นิทานเขา ๓ ก้อนนี้ ปณฺฑิตา นักปราชญ์เจ้าเปิงรู้ดั่งนี้เต๊อะ ในเมื่อพระพุทธเจ้าแห่งเรายังธอรมาน วันนั้น ยังมีมิลักขุผัวเมีย ผู้ผัวชื่อ ปู่เจ้าลาวจก ผู้เมียชื่อ ย่าเจ้าลาวจก และบุคคลทั้ง ๒ ผัวเมียมีจกเจา แลคน แล ๕๐๐ ลูก ลวดได้ชื่อว่า ลาวจก แล บุคคลทัง ๒ ก็อยู่เลี้ยงชีวิตอินทรีย์ด้วยของไร่ของสวน มีต้นว่า ถั่ว งา ฟัก แฟง แตง เต้า พริก ขิง หื้อลาวจกทังหลายเอาไปขายแก่ชาวเมืองทังหลาย เลี้ยงชีวิต แล
......ส่วนว่าลาวจกทัง ๒ ผัวเมีย ก็เป็นใหญ่แก่มิลักขุทังหลายอันอยู่ในดอยดินแดงอันเรียงดอยมหาธาตุเจ้านั้น แล เหตุดั่งอั้นดอยอันนั้นจิ่งได้ชื่อว่า ดอยปู่เจ้า เพื่ออั้น แล ส่วนย่าเจ้าลาวจกผู้เมีย ก็อยู่ดอยทางเหนืออันถัดดอยมหาธาตุเจ้านั้นจิ่งได้ชื่อว่า ดอยย่าเจ้า เพื่ออั้น แล
....บุคคลทัง ๒ ก็มีลูกชาย ๓ คน ผู้ ๑ ชื่อว่า ลวกุมฺโภ ไทยภาษาเรียกว่า ลาวหม้อ แล ผู้กลางชื่อว่า ลวทสลกฺข ไทยภาษาว่า ลาวล้าน ผู้น้องซ้อยชื่อว่า ลวคนฺโธ ไทยภาษาว่า ลาวกลิ่นรส เขาและลูกทัง ๓ นั้นอยู่ดอยลูกทางเหนือนั้น ไทยทังหลายก็เอาของค้าทังหลาย คือว่าหมากและเกลือ เสื้อผ้า จิ๊นปลาอาหาร ไปซื้อขายในตีนดอยที่นั้นเป็นท่าซื้อท่าขายแก่คนทังหลาย ดอยลูกนั้นได้ชื่อว่า ดอยท่า ตราบเถิงบัดนี้ แล
.....ส่วนว่าปู่เจ้าลาวจก ก็หื้อมิลักขุทังหลายเอาเครื่องไร่ เครื่องสวน และหน่อไม้ไล่ เอาลงไปขายยังตีนดอยที่นั้น เหตุดั่งอั้นกาดอันนั้นจิ่งได้ชื่อว่า กาดไล่ ตราบเถิงบัดนี้ แล เมืองอันนั้นจิ่งได้ชื่อว่า เมืองไล่ แล"
ตำนานพระธาตุดอยตุง
เลขที่ : เทือกเขาดอยตุง ต. ห้วยไคร้ อ. แม่สาย จ. เชียงราย 57220
- นายภูเดช แสนสา
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : 2566 Open Call
- 081 - 5307861