ดอนปู่ตาขุนชาญ
เกือบทุกหมู่บ้านในภาคอีสานต้องมี “ดอนปู่ตา” เป็นที่ประทับของผีปู่ตาหรือผีอารักษ์ของหมู่บ้าน โดยมีความเชื่อว่า บริเวณพื้นที่รอบๆดอนปู่ตา เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปตัดไม้ใหญ่ที่อยู่บริเวณนั้น รวมถึงไม่จับสัตว์ต่างๆ ที่มีในดอนปู่ตามากินเป็นอาหาร เพราะเชื่อว่าสัตว์ป่าเหล่านั้นเป็นบริวารของปู่ตา
ดอนปู่ตาขุนชาญ เป็นพื้นที่ป่าวัฒนธรรมของชุมชนที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมร่วมกัน 7 หมู่บ้าน ได้แก่ชาวบ้าน บ้านแกดำ บ้านแกดำกลาง บ้านหนองไข่ผำ บ้านบอน บ้านขามหวาน บ้านโพธิ์ศรีและบ้านหัวขัว ต่างก็มีป่าดอนปู่ตาร่วมกันและให้ความนับถือในปู่ตาท่านเดียวกัน
ดอนปู่ตาขุนชาญ หรือดอนปู่ตาที่ชาวบ้านเรียกขานกันนั้นเดิมคือ “ฆราวาสท่านหนึ่งที่อพยพมาพร้อมกับหลวงปู่จ้อย (ในปีพ.ศ.2338 ตามที่ชาวบ้านเชื่อและเล่ากันมาจากรุ่นสู่รุ่นแต่ก็ไม่มีการระบุแน่ชัดว่าดอนปู่ตาชุนชานมีมาตอนไหนแต่ก็นับถือกันมาจากรุ่นต่อรุ่นแล้ว) ซึ่งปู่ขุนชาญคือคนที่ติดตามหลวงปู่จ้อยคอยส่งข้าวส่งน้ำให้กับหลวงปู่จ้อยตอนที่บวชเป็นภิกษุ เปรียบเสมือนเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ท่านหนึ่ง” ซึ่งปู่ตาขุนชาญเปรียญเหมือนผีบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธ์ประจำชุมชนอีกอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านให้ความเคารพไปไม่น้อยกว่าหลวงปู่จ้อยที่ชาวบ้านเคารพนับถือ
เลขที่ : บ้านแกดำ ต. แกดำ อ. แกดำ จ. มหาสารคาม 44190
- นางคำปน มาน้ำเที่ยง
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม :
- -