ศาลเจ้าพ่อกวนอู ตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2380 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจากการพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนให้ข้อมูลว่า ศาลเจ้าพ่อกวนอู ชาวจีนแต้จิ๋วน่าจะเป็นผู้สร้างซึ่งในช่วงเจ้าตากสิน จีนแต้จิ๋วเป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยมากที่สุด
ศาลเจ้าพ่อกวนอูสะท้อนให้เห็นความเชื่อเรื่องความซื่อสัตย์ของชาวจีนได้เป็นอย่างดี ชาวจีนที่ทำการค้าส่วนใหญ่จะนับถือเทพเจ้ากวนอู จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ชาวจีนตั้งศาลเจ้าพ่อกวนอูขึ้นที่บริเวณตลาดคุ้งสำเภา เพราะชาวจีนบริเวณนี้ล้วนเป็นทำอาชีพค้าขายทั้งสิ้น ชาวบ้านตลาดคุ้งสำเภาได้บอกเล่าว่า
“เจ้าพ่อกวนอูเป็นเทพเจ้าที่คนจีนและคนไทยในคุ้งสำเภาเคารพ เลื่อมใส
เพราะกวนอูครั้งเมื่อเป็นมนุษย์เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ กัตตัญญู จงรักภักดี กล้าหาญ
ในแต่ละปีมีผู้คน โดยเฉพาะข้าราชการมักมากราบไหว้ขอพรให้มีความเจริญก้าวหน้าด้าน
หน้าที่การงาน เพราะเชื่อว่าเจ้าพ่อกวนอูมีอิทธิฤทธิ์ความเจริญก้าวหน้าทางราชการ”
ที่ตั้งอยู่ในศาลเจ้าพ่อกวนอูตลาดคุ้งสำเภา ไม่ปรากฏเรื่องเล่าที่ชัดเจนว่าจัดอยู่ในประเภทใด อย่างไรก็ตามในบริเวณตลาดคุ้งสำเภา มีโรงฝิ่น โรงเหล้า และบ่อนการพนัน จากการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบรรพบุรุษชาวจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในตลาดคุ้งสำเภา รวมทั้ง ภายในสมาคมลับนี้ยังมีช่องอุโมงค์ลับสำหรับลอดตัวมุ่งออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันไม่สามารถลอดเข้าไปได้แล้ว เนื่องจากโคลนได้ถมทับช่องทางลับ
และจากข้อมูลการสัมภาษณ์คนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในตำบลคุ้งสำเภา ได้ให้ข้อมูลว่า ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยส่วนใหญ่นิยมตั้งรกรากในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการสัญจรหรือการค้า ในอดีตหรือเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา คุ้งสำเภาเป็นจุดศูนย์กลางที่สำคัญของอำเภอมโนรมย์ ในด้านเศรษฐกิจการค้า โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่า ตลาดคุ้งสำเภา เนื่องจากเป็นจุดสำคัญหรือศูนย์กลางในการขนส่งสินค้าและคน ล่องไปยังตอนเหนือและตอนล่างของลำน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ข้อมูลของเทพเจ้าเจ้าพ่อกวนอูคุ้งสำเภานั้น เทพกวนอูองค์นี้นำมาจากประเทศจีนไม่ได้ถือง้าว หรือมีง้าวอยู่ข้างหลัง หรือข้างๆ เหมือนปางอื่นที่มักเห็นกันทั่วไป แต่เป็นปางที่แสดงความเป็นนักอ่านตำราพิชัยสงครามหรือชุนชิว รูปเคารพเหมือนในศาลเจ้ากวนอูคุ้งสำเภามีลักษณะนั่ง มือขวายกสูงปลายมืององุ้มไว้ ไม่ได้ถือเคราเหมือนปางอื่น ส่วนมือซ้ายวางไว้บนเข่าซ้าย กำหนังสือไว้แต่ไม่ได้ยกอ่าน และไม่แน่ชัดว่าปางนี้เป็นยามเวลาใดกวนอูปางนั่งอ่านตำรามีหลากหลายลักษณะมาก ทั้งนี้ปางทัอ่านหนังสือหรือตำรานี้สะท้อนให้เห็นความเป็นผู้มีความรู้ในด้านการรบ เป็นผู้มีสติปัญญา เหมาะสำหรับการบูชาในสำนักงาน หรือในศาลเจ้า
เส้นเวลา (Timeline)
|
|
พ.ศ. 2001 - 2380 |
|
|
เหตุการณ์ :
การศึกษาประวัติศาสตร์ อำเภอมโนรมย์ และตำบลคุ้งสำเภา คณะผู้วิจัยและชุมชนได้ร่วมกันแบ่งมิติเวลาในช่วงแรกโดยกำหนดเวลาและพื้นที่ (Time and space) ที่ยึดเหตุการณ์สำคัญออกเป็น 2 ช่วงเวลาคือ ก่อนการตั้งเมืองมโนรมย์ในช่วงพ.ศ. 2101
ผลกระทบ :
มีการตั้งของศาลเจ้ากวนอู ในปี พ.ศ. 2380 เนื่องจากทั้งสองเหตุการณ์นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่สะท้อนการเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในอำเภอมโนรมย์และชุมชนชาวจีนและในตำบลคุ้งสำเภา
|
เลขที่ : มโนรมย์ ต. คุ้งสำเภา อ. มโนรมย์ จ. ชัยนาท 17110