วัดเชียงยืน ที่เรียกกันว่าเป็นวัดเดชเมือง ถูกสร้างขึ้นมาด้วยแต่ครั้งโบราณเริ่มสร้างเมือง (อิศรา กันแตง, 2565) ซึ่งต่อมาในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1898-1928 เป็นกษัตริย์ที่อุปถัมภ์ศาสนาพุทธอย่างมาก ได้สร้างคุ้มเรือนไม้ของพระเจ้ากือนาได้มาสร้างตั้งไว้ขยายณาเขตจากวัดเชียงยืนไปในอาณาเขตหนองเขียว ซึ่งกลายเป็นวัดป่าเป้าในปัจจุบัน และในวัดเชียงยืนนั้นก็ได้สร้างอุโบสถ 8 เหลี่ยมแบบพม่า สันนิษฐานว่าสร้างภายหลังพระเจ้ากือนาด้วยเช่นกัน ตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า พระยามังรายสร้างเมืองเพื่อให้เกิดระบบน้ำและชุมชนเกษตรกรรม ซึ่งพระเจ้ากือนาได้ต่อยอดนำเอาวัฒนธรรมร่วมสมัยมาใช้กับพื้นที่วัดเดิมและพื้นที่สีเขียวของเมือง
อุโบสถแปดเหลี่ยม เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่าที่งดงามและควรที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างยิ่ง จะไม่เจอพระอุโบสถแปดเหลี่ยมในวัด ต้องเดินออกจากประตูวัดด้านตะวันออก ผ่านโรงเรียนเทศบาลวัดเชียงยืน มาทางด้านถนนสนามกีฬา มีปูนปั้นลายพรรณพฤกษาเหนือประตูอุโบสถทรงแปดเหลี่ยม หลังคา 3 ชั้น ลายปูนปั้นเหนือหน้าต่าง แต่ละด้านจะไม่เหมือนกัน
เส้นเวลา (Timeline)
|
|
พ.ศ. 1839 - 1928 |
|
|
เหตุการณ์ :
วัดเชียงยืน ที่เรียกกันว่าเป็นวัดเดชเมือง ถูกสร้างขึ้นมาด้วยแต่ครั้งโบราณเริ่มสร้างเมืองซึ่งต่อมาในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1898-1928 เป็นกษัตริย์ที่อุปถัมภ์ศาสนาพุทธอย่างมาก ได้สร้างคุ้มเรือนไม้ของพระเจ้ากือนาได้มาสร้างตั้งไว้ขยายณาเขตจากวัดเชียงยืนไปในอาณาเขตหนองเขียว ซึ่งกลายเป็นวัดป่าเป้าในปัจจุบัน และในวัดเชียงยืนนั้นก็ได้สร้างอุโบสถ 8 เหลี่ยมแบบพม่า
ผลกระทบ :
พระยามังรายสร้างเมืองเพื่อให้เกิดระบบน้ำและชุมชนเกษตรกรรม ซึ่งพระเจ้ากือนาได้ต่อยอดนำเอาวัฒนธรรมร่วมสมัยมาใช้กับพื้นที่วัดเดิมและพื้นที่สีเขียวของเมือง
|
|
|
|
เลขที่ : ตำบล ศรีภูมิ ต. ศรีภูมิ อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50200