AR-70180-00031
เจดีย์ เสาหงส์ ลานโพธิ์ ประจำหมู่บ้านโป่งกระทิงบน
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
สถาปัตยกรรม
AR:ARchitecture
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
แหล่งพิธีกรรม
ข้อมูล/ประวัติ
เจดีย์ หรือเสาหลักบ้าน ในภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า “ก่อง” เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงพุทธ คำว่า พระพุทธเจ้า ในภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า “กะชาก่อง” มีความหมายถึง เจ้าของเจดีย์ ส่วนคำว่า “ไกล๊ก่อง” ในภาษากะเหรี่ยง แปลว่า การเดินเวียนบูชาพระพุทธ เจดีย์ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ที่วัด ในสมัยก่อนจะทำจากไม้เนื้อแข็งที่มีชื่อเป็นมงคล คนกะเหรี่ยงในพื้นที่เขตวัฒนธรรมราชบุรี-เพชรบุรี เวลาจะจัดงานบุญ เช่น งานเวียนเจดีย์ งานแห่ฉัตร งานข้าวห่อ จำเป็นจะต้องมีการชักธง “จักกะโว่” หรือ “นกหงส์ ซึ่งบางคนอธิบายว่าเป็น นกการเวก ความเชื่อเรื่องนกหงส์นี้ หลายคนคิดว่าเป็นวัฒนธรรมของมอญ แต่ทว่า ในวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงเองก็มีการกล่าวถึงเสาหงส์เช่นกัน โดยในความเชื่อของคนกะเหรี่ยง จะถือว่า นกหงส์ เป็นผู้สื่อสารข่าวการทำความดีของมนุษย์ นำไปบอกต่อพระพุทธเจ้า และ นกหงส์จะหันไปทางเสาเจดีย์กลางบ้าน หรือเสาก่อง ซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าทางด้านทิศตะวันออก สื่อความหมายโดยนัยถึง แสงสว่างพระธรรม ของพระพุทธเจ้า การทำความดีเพื่อจะได้เกิดเป็นพุทธศาสนิกชน ได้พบพระพุทธ พระธรรม ในทุกชาติ เสาหงส์บ้านโป่งกระทิงบน ฟื้นฟูครั้งล่าสุดเมื่อปี 2540 ซึ่งตัวเสาได้ผุพังเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา เนื่องจากตัวเสาเป็นไม้ฝังลงในดิน ชุมชนจึงได้ร่วมใจกันยกเสาหงส์ใหม่ โดยได้ยกเสาข้าง 2 เสาก่อนในวันที่ 30 เมษายน 2565 เวลา 9.00 น. และได้ทำพิธียกเสาหงส์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2565


ที่ตั้ง
เลขที่ : หมู่ 1 ต. บ้านบึง อ. บ้านคา จ. ราชบุรี 70180
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- นายประเสริฐ สุขแสนไกรศร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :261 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 22/05/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 22/05/2023