แคนเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีไม่กี่ประเภทที่บ่งบอกแหล่งที่มาของชาติพันธุ์และที่ตั้งชุมชนได้อย่างแม่นยำ คล้ายกับปี่สกอตของสกอตแลนด์ที่เพียงแค่ได้ยินเสียงก็รู้ว่าเป็นชาติพันธุ์กลุ่มใด เพราะเสียงแคนมีจังหวะและท่วงทำนองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากจะใช้เป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงแล้ว เสียงแคนยังถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารกับ “แถน” หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ
ในงานประเพณีบุญเดือนหกที่จัดขึ้นราวเดือนพฤษภาคม หรืองานเจ้าพ่อพญาแลในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี จะต้องมีวงแคนยาวจากบ้านขี้เหล็กใหญ่ร่วมเป่าเพื่อบูชาเจ้าพ่อพญาแลเสมอ เป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า “ครั้นไหว้เจ้าพ่อ แล้วงั้น (บูชา) ด้วยเสียงแคน บ่ว่าเจ๊ก ไทย ลาว ญวน ครั้นลุกขึ้นมาฟ้อนมารำได้ทั้งที่บ่เคยรำ แสดงว่าชาติก่อนเจ้าของเป็นลาว” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพลังของเสียงแคนที่ทำให้เป็นเอกลักษณ์ของคนลาว
แคนยาวบ้าขี้เหล็กใหญ่ นอกจากจะมีขนาดยาวที่สุดในโลกแล้ว สิ่งที่น่าสนใจและมีคุณค่ามากยิ่งกว่านั้นคือการสร้างอัตลักษณ์ของคนบ้านขี้เหล็กใหญ่ผ่านเสียงดนตรี
เลขที่ : บ้านขี้เหล็กใหญ่ ต. ในเมือง อ. เมืองชัยภูมิ จ. ชัยภูมิ 36000
- ดร.ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี
- นราศักดิ์ ภูผายาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ :
- ดร.ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี โทร.089-4219486 E-mail : Sutamdee_22@hotmail.com