SP-54000-00006 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]
พิธีกินอ้อ
Encouraging Ritual
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
SP:Social Practices, ritual and festive events
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน
ข้อมูล/ประวัติ
พิธีกินอ้อผญา คือ พิธีกรรมของชาวล้านนา นิยมจัดเมื่อจะมีการเรียนวิชาการต่าง ๆหรือเรียนวิชาคาถาอาคม อาจารย์ผู้สอนจะทำพิธีเสกอ้อผญาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดสติปัญญาและความจำในการเรียนวิชานั้น อ้อ คือ กระบอกต้นอ้อความยาวราว ๓ ข้อนิ้วของผู้ที่จะกินอ้อผญา แล้วบรรจุน้ำผึ้ง ผญา คือ ปัญญา เมื่อทำพิธีเสกมนตืคาถาใส่อ้อแล้วจะนำกระบอกอ้อตั้งจิตอธิษฐานให้มีสติปัญญาดี ความจำเป็นเลิศและประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนแล้วกัดให้กระบอกอ้อแตก ดื่มน้ำผึงจนหมดแล้วโยนกระบอกอ้อนั้นข้ามศีรษะไปด้านหลังทางช่องประตู หน้าต่าง หรือลงน้ำล่องไป โดยถือเอาเคล็ดว่าคิดอันใดให้ขบคิดให้แตก ทะลุปรุโปร่ง เรียนโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวางนั่นเอง ในสมัยโบราณเชื่อกันว่าผู้ที่ผ่านพิธีนี้จะมีสติปัญญาเฉียบแหลมสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วและจดจำได้มากรวมไปถึงเชิงวาทศิลป์และมีเสน่ห์ในการแสดงอีกด้วย โดยเฉพาะศิลปะการแสดงดนตรีพื้นเมือง หรือ วงสะล้อ ซอซึง ของช่างซอ นิมยมกินในเทศกาลวันพญาวัน (สงกรานต์)


ที่ตั้ง
เลขที่ : วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง หมู่ 11 ต. ช่อแฮ อ. เมืองแพร่ จ. แพร่ 54000
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- แม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 9 สภาการศึกษาแห่งชาติ
ผู้บันทึกข้อมูล
- doungporn.bee : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ :
ช่องทางติดต่อ
- 0971544803
มีผู้เข้าชมจำนวน :385 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 30/01/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 30/01/2023