พิธีบายศรีของคนภาคเหนือ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ นิยมมากในวงกว้างสมัยพระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงอนุรักษ์งานบายศรีไว้ตามแบบแผนดั้งเดิม หลังจากกลับมาจากเข้ารับราชการฝ่ายในเป็นเวลาหลายปี มาจัดรูปแบบใหม่แบบล้านนา ทรงรวบรวมผู้มีฝีมือในการประดิษฐ์ ตัดเย็บใบตองและทำบายศรีจากที่ต่างๆ ในนครเชียงใหม่มาฝึกสอนคนของพระองค์และผู้ที่สนใจทั่วไป ณ พระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยทรงสอนแบบอย่างไว้ให้แก่ข้าราชบริพาร ส่วนในนครล้านนาอื่นๆ นิยมตามแบบในราชสำเจ้าผู้ครองนคร หรือคุ้มหลวง และในครอบครัวชาวบ้านทั่วไป
บายศรีของภาคเหนือจำแนกได้ดังนี้
๑. บายศรีหลวงหรือบายศรีใหญ่
๒. บายศรีนมแมว ขันผูกมือหรือขันมัดมือ
เครื่องประกอบพิธีบายศรีทั่วไป ประกอบด้วย
๑. ข้าวเหนียว
๒. ไข่ต้ม
๓. กล้วย ผลไม้อื่น ๆ
๔. หมาก พลู
๕. เมี่ยง บุหรี่
๖. น้ำบริสุทธิ์
๗. น้ำมะพร้าวอ่อน
ประเพณีบายศรีสู่ข้าว หรือ แถบแพร่ น่าน เรียกเอาขวัญ หรือการฮ้องขวัญของภาคเหนือเป็นประเพณีมงคลที่ต้องการให้ผู้ได้รับการทำบายศรีมีความสุขสวัสดี เพราะขวัญได้รับการผูกไว้ไม่ให้หนีไปไหน คนที่มีขวัญอยู่กับตัว ครบ 32 ขวัญ ย่อมเป็นคนมีกำลังใจดี มีสภาพจิตใจมั่นคงเข้มแข็ง ในสมัยโบราณ จึงให้ทำการสู่ข้าวเอาขวัญหรือฮ้องขวัญ พิธีกรรมในการสู่ข้าวเอาขวัญหรือฮ้องขวัญนั้น อาจารย์ผู้นำพิธีกรรมจะเป็นเจ้าพิธีหรือผู้ทำพิธี โดยนำบายศรีมาวางตรงหน้าผู้รับการเรียกขวัญ เพื่อปัดเคราะห์ไล่เสนียดจัญไร แล้วกล่าวประวัติผู้ได้รับการทำบายศรีเรียกขวัญ ๓๒ ขวัญ มัดมือให้โอวาทแก่ผู้รับบายศรี แล้วอวยพร จากนั้นผู้รับบายศรีมอบของแก่อาจารย์ ปัจจุบันถูกนำเสนอเป้นพิธีกรรมต้อนรับแขกผ็มาเยือน ทั้งในแบบส่วนตัวและแบบคณะนักท่องเที่ยว
เลขที่ : วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง หมู่ 11 ต. ช่อแฮ อ. เมืองแพร่ จ. แพร่ 54000
- พระครูภาวนาเจติยานุกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮ
- doungporn.bee : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ :
- 0651256999