ตามหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ (พงศาวดารโยนก) กล่าวว่า “ศักราช ๙๙๘ (พ.ศ. ๒๑๗๙) ปีชวด อัฐศกเจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวชกุลบุตรพันหนึ่ง แล้วมีพระราชโองการให้สถาปนาที่วังนางกาเผือกเมืองเชียงแสนเป็นพระอาราม ขนานนามว่าวัดเชตวันแล้วอาราธนาพระมหาเถรวัดป่าไผ่ดอนแท่นมาเป็นเจ้าอาวาส” (เจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชาเป็นกษัตริย์เมืองอังวะ ในช่วงเวลาที่กล่าวถึงนี้เป็นช่วงเวลาที่ล้านนาทั้งปวงอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ตองอูในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่เอกสารระบุไว้) วัดเชตวันปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงแสน
วัดเชตวันกาเผือก ประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ วิหารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก จัดเป็นอาคารแบบโถงมีผนังเฉพาะส่วนท้ายวิหารที่ประดิษฐานพระประธานเจดีย์มีลักษณะเป็นทรงกลมแบบล้านนาประกอบด้วยส่วนฐานบัวทรงสี่เหลี่ยมรองรับองค์ระฆังกลมส่วนยอดพังทลายไปแล้ว สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ทำการบูรณะใน พ.ศ. ๒๕๖๒ วัดเชตวันปรากฏในตำนานพื้นเมืองเช่นแสนความว่า
"สักกราชได้ 998 ตัวปีรวายใจ้ พระเจ้าฟ้าสุทโธธัมมิกราชก็สระเด็จลงไปอยู่เมืองอังวะ สักกราชได้ 999 ตัว ปีก่าเร้าก็มายอพระลูกแก้วพันตน จิ่งมีพระราชอาชญาหื้อสร้างวัดเชตวันที่โรงนางกาเผือกนั้น หื้อเป็นราชสัณฐาน แล้วก็นิมนตนาเอามหาป่าไผ่งามเจ้าดอนแท่นเข้ามาอยู่เชตวันอารามกลางเวียง แล้วยกหื้อเปนสมเด็จเจ้าแล แล้วแต่งเรือนหื้อนางฟ้ากาเผือกอยู่เสียฝ่ายคองหลวงพายหนเหนือแล้วหื้อเปนมูลสัทธาวัดเชตวันที่นั้นแล"
เลขที่ : ต. อ. จ. เชียงราย 57150
-
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :
-