PA-91000-00004
ระบำว่าวควาย
Buffalo kite dance
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
ศิลปะการแสดง
PA:Performing Arts
นาฏศิลป์และการละคร
ข้อมูล/ประวัติ
นักเรียนและครูที่สอนนาฎศิลป์โรงเรียนสตูลวิทยาได้คิดค้นท่ารำระบำว่าวควาย เพื่อใช้ในวันสำคัญของงานประเพณีว่าวสตูลในทุกปี ระบำว่าวควายเป็นการแสดงของท้องถิ่นที่จัดประกอบในงานประเพณีว่าวสตูล ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นจังหวัดสตูล ซึ่งจัดเป็นภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดง มีความโดดเด่นทั้งท่ารำและเครื่องแต่งกาย ท่ารำระบำว่าวควาย เป็นการจินตนาการจากลีลาการเคลื่อนไหวของว่าวขณะเล่นลมอยู่บนท้องฟ้า ดั่งนางพญาที่กรีดกรายร่ายรำอย่างมีความสุข ลีลาท่ารำก็จะมีท่าที่อ่อนช้อย แช่มช้าและรวดเร็วดุดัน เช่นเดียวกับว่าวเมื่อลมอ่อนและมีลมแรง ตัวว่าวก็จะฉวัดเฉวียนไปตามแรงลม ส่วนดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง เป็นเครื่องดนตรีสากลแต่ปรับสำเนียงให้เป็นสำเนียงของดนตรีพื้นเมืองทั้งของภาคใต้และภาคกลาง เนื่องจากประเพณีการเล่นว่าวมีทั้งภาคกลางและภาคใต้ สำหรับเครื่องแต่งกายก็ให้มีสัญลักษณ์ของว่าวควาย ก็คือกระบังหน้ามีเขาควายประกอบ ชุดก็มีผ้าโปร่งแทนปีกว่าว ส่วนอื่น ๆ ก็ออกแบบเพื่อความสวยงาม โดยเฉพาะตัวนางพญาก็จะเพิ่มความอลังการเข้าไปให้สมกับเป็นนางพญา ระบำชุดนี้เกิดจากการจินตนาการของผู้คิดประดิษฐ์เอง ต้องการให้มีนางพญาว่าวและเหล่าบริวารออกมาร่ายรำถวายเจ้าสมุทรเทวา ซึ่งจะออกมาร่ายรำกันปีละ 1 ครั้งในฤดูมรสุม


ที่ตั้ง
เลขที่ : โรงเรียนสตูลวิทยา ต. คลองขุด อ. เมืองสตูล จ. สตูล 91000
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- ครูนาฏศิลป์ครูเต้ย ครูศิลปะครูฝน ครูพงศ์ศักดิ์ คงสง โรงเรียนสตูลวิทยา
ผู้บันทึกข้อมูล
- ดร.เจตน์สฤษฏิ์ สังขพันธ์ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ :
ช่องทางติดต่อ
- โรงเรียนสตูลวิทยา
มีผู้เข้าชมจำนวน :570 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 20/12/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 20/12/2022