เป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2563 นายเวียง ตั้งรุ่น สนใจทำว่าวควาย และเล่นว่าวอายุประมาณ 7 ปี ลงสนามไปดูเพื่อนทำเป็นตัวอย่าง สมัยโน้นจะเป็นลักษณะครูพักลักจำ ครูที่สอนบอกว่าดูได้ ห้ามจับ ห้ามวัด หวงสูตร ดูตัวอย่างแล้วนำมาสร้างสูตรเอง หัดทำว่าวและเอาเข้าประกวดแข่งขัน เมื่อ ปี 2526 ได้รับรางวัลถ้วยรางวัลที่สงขลา นราธิวาส
การทำว่าวจัดเป็นภูมิปัญญาด้านงานช่างฝีมือ นั่นคือคนทำว่าวจะต้องเลือกไม้ไผ่มาทำโครงว่าว ไม้ไผ่ที่ใช้จะเป็นไม้ไผ่สีสุก ถือว่าเป็นไม้มงคล และเป็นต้นไผ่ที่ปลูกบริเวณใกล้หนองน้ำ และเป็นดินเหนียว แถวคูขุด สทิงพระ จังหวัดสงขลา จะมีไม้ไผ่ดี ราคาจำหน่ายลำละ 50-100 บาท การเหลาไม้ไผ่ถือเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากจะต้องใส่จิตวิญญาณในมีดที่เหลาไม้ไผ่ การเหลาต้องเท่ากันจึงจะเกิดสมดุล การขึ้นโครง จะต้องให้เท่ากัน ตีตารางยึดต้องวัดขนาด วัดส่วนประกอบ วัดโครงว่าว วัดวัดการผูกเชือก วัดลวดลาย ขนาดว่าวเต็มสูตรจะมีขนาด กว้าง X ยาว เท่ากับ 1.20 X 1.50 เมตร กระดาษจะใช้กระดาษฟางติดที่โครงว่าว และติดลวดลาย โดยลวดลายที่ติดจะตัดกระดาษสี แต่ปัจจุบันซื้อบล็อกมาตอกกระดาษสีให้เป็นรูปดอกไม้ ต่าง ๆ แล้วนำมาติดบนตัวว่าวเพื่อเพิ่มสีสันให้สวยงาม ส่วนรูปแบบลวดลายของตัวว่าวก็จะมีวาดลวดลายบนตัวว่าวโดยใช้สีสร้างสรรค์งาน ปัจจุบัน เป็นวิทยากรสอนนักเรียนทำว่าวที่โรงเรียนต่าง ๆ เช่น โรงเรียนสตูลวิทยา โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์
เลขที่ : 442 หมู่ 2 ต. คลองขุด อ. เมืองสตูล จ. สตูล 91000
- นายเวียง ตั้งรุ่น
- ดร.เจตน์สฤษฏิ์ สังขพันธ์ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ :
- 0888294371