FL-57150-00002
ช่างซอ
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
วรรณกรรมพื้นบ้าน
FL:Folk Literature
บทร้องพื้นบ้าน
ข้อมูล/ประวัติ
ซอ เป็นการขับขานหรือการร้องร้อยกรองที่เป็นภาษาคำเมืองหรือภาษาถิ่นเหนือมีฉันทะลักษณ์เฉพาะ จัดเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของล้านนาที่เป็นภูมิปัญญาทางภาษา ที่ได้สร้างสรรค์ไว้อย่างงดงามและทรงคุณค่า แฝงด้วยคติธรรมคำสอน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติไว้อย่างชัดเจน สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญ มีความสัมพันธ์กับวิถีความเป็นอยู่ของชาวล้านนาในด้านต่างๆ การขับซอที่พบในเมืองเชียงแสนจะมีลักษณะการขับร้องซอแบบเชียงใหม่ คือซอเข้าปี่ หรือการขับร้องโดยมีดนตรีประกอบคือปี่จุม ต่างจากการขับซอแบบชาวเมืองน่านที่จะเป็นการขับร้องซอกับดนตรีประเภทสะล้อซึง(ปิน) ในเขตเมืองเชียงแสนมีช่างซออยู่หลายหมู่บ้านโดยจะมีช่างซออยู่ที่บ้านทุ่ง ตำบลบ้านแซวซึ่งเป็นช่างซอรุ่นใหม่ กับช่างซอรุ่นเก่าที่หมู่บ้านเชียงแสนน้อย ในการขับซอที่ปรากฎในเมืองเชียงแสนจะมีทำนองดังนี้ ทำนองตั้งเชียงใหม่ ทำนองกลายเชียงแสน ทำนองจะปุ ทำนองละม้าย(ดาด) ทำนองเงี้ยว ทำนองซฮอื่อ ทำนองพม่า ทำนองล่องน่านเชียงราย ปัจจุบันการสืบทอดการขับซอเริ่มเลือนรางลงไปอย่างมักตามยุคสมัยนิยมซึ่งคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยที่จะสืบสานหรืออนุรักษ์ของเก่าแต่โบราณ ปัจจุบันยังพอมีคนสืบสานบ้างแต่คงเหลืออยู่ในจำนวนน้อยเต็มทีอันเป็นวิกฤตในการสืบสานวัฒนธรรมต่อไปในอนาคตข้างหน้า


ที่ตั้ง
เลขที่ : บ้านทุ่ง ต. บ้านแซว อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :437 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 30/12/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 30/12/2022