สลากภัตรเป็นกาลทานหรืองานประเพณีตามฤดูกาลของชาวล้านนาจะกำหนอดในช่วงตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เหนือ ไปจนถึงเดือนเกี๋ยงหรือเดือน ๑ ของชาวล้านนา จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม เป็นการถวายทานไปหาผู้ล่วงลับ บรรพบุรุษทั้งหลายซึ่งจะตรงกับช่วงวันสาทรไทยหรือช่วงสาทรเดดือนสิบของภาคกลางและภาคใต้ และช่วงบุญข้าวสากหรือบุญข้าวประดับดินของชาวอีสาน นอกจากพิธีการถวานสลากภัตรแบบปกติแล้วยังมีงานประเพณีสลากอีกแบบหนึ่งเรียกว่า "สลกาซาวห้า" คือการจัดเครื่องไทยทานหรือต้นสลากจำนวนยี่สิบห้าชุดเพื่อถวายทานไปหายังบรรพบุรุษผู้สรา้งบ้านแปงเมือง เจ้านาย ผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง ผีฝายผีไรผีนา อารักษ์ต่างๆ ในเมืองเชียงแสนก็เช่นเดียวกันที่จัดมีพิธีตานสลากซาวห้าขึ้นในทุกปีโดยจะเวียนกันตามทวัดต่างๆในเขีตกำแพงเมืองจำนวนสี่วัดคือวัดผ้าข้าวป้าน วัดเจดีย์หลวง วัดปงสนุก และวัดพระเจ้าล้านทอง ในการจัดงานแต่ละปีจะมีกองทุนสลากซาวห้าเป็นผู้จัดการงบประมาณต่างๆในการใช้ประกอบพิธีกรรมนี้มาโดยมีคณะกรรมการสลากซาวห้าเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่าย ในการประกอบพิธีสลากซาวห้านั้นจะควบคู่กับการสืบชะตาเมืองเชียงแสน การถวายทานเรือสำเภาหรือสะเปาหาบรรพบุรุษ ในส่วนของต้นสลากจะมีอยู่ทั้งหมดยี่สิบห้าชุดระบุรายพระนาม รายนามเจ้าผู้ครองเมืองเชียงแสน ผู้สร้างเมืองเชียงแสนคือพญาแสนภู กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนก เมืองเงินยาง และกษัตริย์ในราชวงศ์มังรายที่มีความเกี่ยวข้องกับเมืองเชียงแสน และเจ้าเมืองเชียงแสนในยุคฟิ้นฟู ปัจจุบันนี้ประเพณีตานสลากซาวห้ายังมีการสืบทอดและสืบสานกันเพื่อไม่ให้สูญหายและเพพื่อความสงบร่มเย็นของบ้านเมือง
เลขที่ : ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150
-
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :
-