KP-57150-00022
น้ำเงี้ยว
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
KP:Knowledge and Practices concerning nature and the
อาหารและโภชนาการ
ข้อมูล/ประวัติ
วัฒนธรรมการกินของกลุ่มชาวไทต่างๆในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มชาวไทลื้อ และไทเขิน จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากชาวไทยวน(คนเมือง) หนึ่งในนั้นคือการรับประทานข้าวซอยชนิดต่างๆ โดยข้าวซอยของกลุ่มไทใหญ่ ไทลื้อ และไทเขินที่พบในเขตวัฒนธรรมเมืองเชียงแสนจะพบขายตามร้านขายข้าวซอยที่เป้นลักษณะเฉพาะของกลุ่มไทดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จะพบมากในเขตพื้นที่อำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน เพราะในอำเภอที่กลาวมานี้จะอยู่ใกล้กับประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศสหภาพเมียนมาหรือประเทศพม่าดังนั้น อิทธิพลทางด้านอาหารของกลุ่มชาวไทต่างๆจึงมีมากในบริเวณแถบนี้ ข้าวซอยในความหมายๆถึงแผ่นแป้งข้าวจ้าวที่ทำการนึ่งแล้วนำมาตัดเป็นเส้นๆ วิธีการตัดเป็นเส้นๆนี้ในภาษาพื้นเมืองคือการซอย ดังนั้นจึงเรียกแผ่นแป้งที่นึ่งสุกนี้ว่าข้าวซอย ข้าวซอยมีวิธีการทำคล้ายเส้นก๋วยเตี่ยวเส้นใหญ่ ดังนั้นเส้นข้าวซอยกับเส้นก๋วยเตี่ยวเส้นใหญ่จึงมีลักษณะเช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีการทำข้าวซอยของชาวไทเขิน ไทลื้อ ล้วนได้รับเอาอิทธิพลวิธีการทำและวิธีการกินมาจากชาวจีน ซึ่งมาตามเส้นทางการค้าวัวต่างม้าต่างซึ่งนำสินค้าจากประเทศจีนผ่านตามช่องเขาต่างๆเพื่อทำการค้าขายกับกลุ่มชาวไทกลุ่มต่างๆ ไปจนถึงเมืองเชียงใหม่และเมืองใหญ่อื่นๆในล้านนา และนำสินค้าพื้นเมืองจากเทือกเขาต่างๆเพื่อนำไปขายต่อในประเทศจีนด้วยในยุคสมัยนั้น ดังนั้นวัฒนธรรมการบริโภคของชาวจีนโดยเฉพาะจีนยูนนานจึงส่งอิทธิพลถึงกลุ่มชาวไทต่างๆตามเส้นทางการค้านั้นเอง ข้าวซอยน้ำเงี้ยวในเมืองเชียงแสนมีหลากหลายสูตรทั้งแบบข้าวซอยน้ำคั่วอย่างชาวไทลื้อ ข้าวซอยน้ำเงี้ยวอย่างชาวไทใหญ่บ้านสบรวกที่มีการใส่เนื้อสัตย์ลงไปในน้ำซุปที่มีความหลากหลายทั้งเนื้อปลา หมูหรือเนื้อวัว และข้าวซอยน้ำเงี้ยวอย่างคนพื้นเมืองที่มีลักษณืเป็นการต้มน้ำซุปพร้อมพริกคั่วกับเนื้อสัตว์เรียบร้อยต่างจากน้ำคั่วที่จะนำน้ำซุปใสราดลงบนเส้นแล้วค่อยนำเอาพริกคั่วกับเนื้อสัตว์ราดลงไป ซึ่งเนื้อสัตว์คั่วกับพริกแกงจะคล้ายกันกับน้ำพริกอ่องนั้นเอง


ที่ตั้ง
เลขที่ : ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :390 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 30/12/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 30/12/2022