ประเพณีการเดินแห่ขบวนขันหมากในงานแต่งงานของคนมุสลิมมลายู เป็นประเพณีดั้งเดิมของชนชาวมลายูท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงจะเป็นประเพณีดั้งเดิมของพราหมณ์ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ชาวมลายูรับเอาประเพณีแห่ขันหมากในงานแต่งงาน ต่อมาชาวอาหรับเดินทางมายังแหลมปัตตานีดารุสลามเข้ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนาอิสลาม มีการเผยแพร่ศาสนาอิสลามกระจายในแหลมมลายูในวงกว้าง ทำให้ศาสนาอิสลามมีอิทธิพลต่อคนมลายูในพื้นที่มาก ชาวมลายูส่วนใหญ่ในแหลมมลายูได้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก ทำให้ประเพณีบางอย่างของพราหมณ์ในอดีตค่อยๆหายไปเพราะเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม (ซิริก) แต่ไม่ใช่ว่าประเพณีจะสูญหายไปแต่จะถูก ปรับ เปลี่ยนไม่ให้ขัดต่อศาสนาอิสลาม ดังเช่น ประเพณีการเดินขบวนแห่ขันหมากของเจ้าบ่าวไปบ้านเจ้าสาวในวันแต่งงาน เป็นประเพณีที่คนมุสลิมมลายูปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในวันแต่งงาน (งานเลี้ยงแต่งงาน) แต่การแต่งงานของมุสลิมมลายูบางคน จะมีพิธีการแห่ขันหมากหรือไม่มีก็ได้ ไม่เป็นการบังคับ การแต่งงานตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามจะไม่มีการแห่ขันหมาก เพราะประเพณีการแห่ขันหมากบ้านเจ้าสาวไม่ใช้เป็นศาสนบัญญัติ แต่เป็นประเพณีท้องถิ่นที่คนมุสลิมมลายูในชุมชนปฏิบัติกันมา และสร้างขึ้นมา เพื่อความเป็นสิริมงคล และความสวยงามในวันแต่งงาน
เลขที่ : บ้านสะนอ ต. สะนอ อ. ยะรัง จ. ปัตตานี 94160
- นางสาวแวบีเดาะห์ โดดะแช
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา บินหมัดหนี : มหาวิทยาลัยฟาฏอนี :
- 081-0923126