TC-57150-00009
ประเพณีลอยโคม/โคทลอย/ว่าวควัน
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
งานช่างฝีมือดั้งเดิม
TC:Traditional Craftsmanship
ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น
ข้อมูล/ประวัติ
โคมควัน ว่าวควัน หรือว่าข้าวกล่อง เป็นโคมชนิดหนึ่งของล้านนาที่ไว้สำหรับลอยในช่วงเวลากลางวัน ในวันเพ็ญเดือนยี่ของล้านนาตรงกับวันลอยกระทงของภาคกลาง โคมลอยหรือโคมควันทำมาจากกระดาษว่าว กระดาษสา หรือกระดาษแก้ว สามารถลอยบนอากาศได้ด้วยการใช้ควันไฟและไอร้อนในการรมควันเข้าไปในตัวโคมจนโคมสามารถลอยบนอากาศได้ จะต่างจากว่าวไฟ หรือโคมไฟที่สำหรับลอยในช่วงกลางคืนจะลอยขึ้นบนอากาศได้ด้วยความร้อนของไฟ โคมควันที่ใช้ลอยในช่วงกลางวันมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือหางโคมที่จะปล่อยออกมาเมื่อโคมไฟลอยได้ระดับโดยใช้ดอกไม้ไฟเช่นประทัดประกอบการปล่อยหางโคม หางโคมเป้นส่วนสำคัญที่ช่วยในการถ่วงน้ำหนักของโคมไม่ให้ปากโคมลอยหลายขึ้นฟ้าอันจะทำให้ควันที่อัดอยู่ภายในตัวโคมออกมาละทำให้โคมตกลงมาได้ในระยะเวลาสั้น โคมลอยหรือโคมควันเมืองเชียงแสนนิยมปล่อยกันในช่วงเดือนยี่เป็งในทุกวัด โดยเฉพาะวัดพระธาตุจอมกิตติ ที่จะมีการทำโคมควันขนาดใหญ่เพื่อปล่อยเป็นพุทธบูชา และได้รับสนับสนุนงบประมารจากเทสบาลตำบลเวียงในการจัดทำโคม ในทุกปีการปล่อยโคมควันวัดพระธาตุจอมกิตติถือเป็นงานที่ใหญ่มีโคมลอยหลากหลายสีสัน ขนาด มีความสวยงาม การถายโคมลอยทั้งโคมควันและโคมไฟนั้นเพื่อเป็นพุทธบูชาแด่พระธาตุเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ บูชาพระพุทธเจ้าและเพื่อความสวยงาม ดั่งเดิมแล้วในล้านนานิยมปล่อยโคมควันมากกว่าโคมไฟที่ปล่อยในเวลากลางคืนเพราะสามารถลอยบนฟ้าได้นานกว่าและไม่อันตรายเท่าโคมไฟ


ที่ตั้ง
เลขที่ : บ้านจอมกิตติ ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- นายภาณุวัฒน์ ศรีสุข
ผู้บันทึกข้อมูล
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :
ช่องทางติดต่อ
- 0817067184
มีผู้เข้าชมจำนวน :341 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 18/01/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 18/01/2023