ขับซอช่างซอพ่อครูเติงบ้านเชียงแสนน้อย
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
วรรณกรรมพื้นบ้าน
FL:Folk Literature
บทร้องพื้นบ้าน
ข้อมูล/ประวัติ
ซอ เป็นการขับขานหรือการร้องร้อยกรองที่เป็นภาษาคำเมืองหรือภาษาถิ่นเหนือมีฉันทะลักษณ์เฉพาะ จัดเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของล้านนาที่เป็นภูมิปัญญาทางภาษา ที่ได้สร้างสรรค์ไว้อย่างงดงามและทรงคุณค่า แฝงด้วยคติธรรมคำสอน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติไว้อย่างชัดเจน สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญ มีความสัมพันธ์กับวิถีความเป็นอยู่ของชาวล้านนาในด้านต่างๆ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว การประกอบอาชีพ อาหารและโภชนาการ การแต่งกาย การสาธารณะสุขมูลฐาน การซอของแต่ละท้องถิ่นมีเครื่องดนตรีประกอบและท่วงทำนองที่แตกต่างกันไป เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการซอของจังหวัดเชียงใหม่ใช้ปี่จุม ส่วนการซอของจังหวัดน่านใช้ซึงและสะล้อ มีทั้งซอเดี่ยว และซอโต้ตอบระหว่างช่างซอชายและช่างซอหญิง ภาษาถิ่นเรียกว่า “คู่ถ้อง” มีทั้งการซอตามบทและปฏิภาณไหวพริบของช่างซอ โดยนำเอาข้อมูล เหตุการณ์ต่างๆ มาพรรณนาโวหารซึ่งแฝงด้วยคติธรรมและคติโลก ตามลักษณะของฉันทะลักษณ์ของแต่ละทำนองซอซึ่งมีประมาณ ๑๐ ทำนอง ช่างซอที่มีความสามารถและประสบการณ์สูงจะสามารถร้อยเรียงคำร้อง (คำซอ) ได้อย่างสละสลวย มีความไพเราะด้วยปฏิภาณไหวพริบของตนเอง โดยไม่ต้องแต่งเนื้อร้องมาก่อนแต่ขอให้ทราบเนื้อหาในเรื่องนั้นช่างซอก็สามารถนำมาร้องบทซอในแต่ละทำนองได้ทันทีแล้วแต่นักดนตรี (ช่างปี่) จะให้ทำนองซอทำนองใด ในเมืองเชียงแสนมีช่างซอที่มีการสืบทอดมาจากพ่อครูแม่ครูซอแต่ดั่งเดิมมีอยู่หนึ่งท่านคือ พ่อบุญเติง บ้านเชียงแสนน้อย ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พ่อครูสืบครูซอจากพ่อต๋าคำ ช่างซอตาบอดที่อพยพมาจากเมืองเชียงใหม่ โดยพ่อต๋าคำมีศิษย์ที่มีชื่อเสียงเช่น แม่ครูเตียมต๋า ปาเปาอ้าย หรือแม่ครูศรีพรรณ แม่ครูคำใบ บ้านแม่คำหลวง เป้นต้น ปัจจุบันพ่อบุญเติงยังคงรับงานขับซออยู่


ที่ตั้ง
เลขที่ : ต. อ. จ. เชียงราย
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :507 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 28/04/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 28/04/2023