เครื่องสักการะล้านนา
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
งานช่างฝีมือดั้งเดิม
TC:Traditional Craftsmanship
งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
ข้อมูล/ประวัติ
ชาวเชียงแสนเมื่อมีการจัดทำพิธีกรรมทางศาสนา หรือเพื่อคารวะผู้มียศศักดิ์ จะมีการประดิษฐ์เครื่องสักการะสำหรับใช้ในพิธีกรรมต่างๆขึ้น โดยเครื่องสักการะที่มักพบเห็นในพิธีกรรมนั้น คือ หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นเทียน และต้นดอก หมากสุ่ม มีลักษณะเป็นพุ่ม ทำจากหมากแห้งแล้วผ่าให้เป็นซีก นำมาร้อยแล้วเสียบกับโครงไม้ไผ่หรือโครงหยวกกล้วยให้เป็นพุ่ม หมากเบ็ง ทำจากใบตาลหรือใบมะพร้าวมาสานเป็นดอกไม้แล้วนำหมากสุกหรือหมากดิบมาไว้ตรงกลางของดอก เป็นจำนวน 24 ลูก ผูกติดยึดโยงกับโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นพุ่ม (ลักษณะที่ผูกติดกันนี้คนเหนือจึงเรียกว่า เบ็ง) ต้นผึ้ง เป็นการนำเอาขี้ผึ้ง ปั้นเป็นรูปดอกไม้ แล้วนำมาตกแต่ง เสียบเข้ากับก้านทางมะพร้าว แล้วจึงปักลงบนต้นกล้วยที่ตัดเตรียมไว้ ให้เป็นทรงพุ่ม ต้นเทียน เป็นการนำเอาเทียนที่ทำจากขี้ผึ้งมาผูกติดกับทางไม้มะพร้าวเสียบลงบนต้นกล้วย ปักให้มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม การถวายเทียนนั้นยังปรากฏในพิธีกรรมทางศาสนาอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ในช่วงเข้าพรรษา ที่ถวายเทียนให้พระภิกษุสงฆ์ เป็นการมอบแสงสว่างให้เพื่อใช้ในการท่องหนังสือ ต้นดอก หรือ ขันดอก หรือ ขันต่อมก่อม ขันต้อมล้อม มีลักษณะเป็นภาชนะทรงสูง ด้านในใส่โครงที่ทำจากไม้ไผ่แล้วจึงนำดอกไม้ที่ทำจากกระดาษสีเงิน และกระดาษสีทอง มาประดับกันจนเป็นพุ่มกลมสวยงาม ในเมืองเชียงแสนจะมีการทำขันต้อมก้อมที่มีเกลักษณ์เฉพาะคือ การประดับด้วยกลับใบตองพับเป้นรูปอย่างหูช้างล้อมทำเป็นทรงพุ่ม ในเมืองเชียงแสนเรียกพับใบระกา แล้วประดับเพิ่มเติมด้วยดอกไม้ต่างๆในพุ่มใบระกานั้น


ที่ตั้ง
เลขที่ : ต. อ. จ. เชียงราย
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :306 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 28/04/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 28/04/2023