PA-57150-00001
กลองหลวง
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
ศิลปะการแสดง
PA:Performing Arts
ดนตรี
ข้อมูล/ประวัติ
กลองในวัฒนธรรมล้านนามีหลายรูปแบบและบทบาทที่เกี่ยวข้องกับสังคมต่างกันไป วงกลองในสังคมล้านนามีเอกลักษณ์ที่หลากหลายมีเอกลกษณ์เฉพาะถิ่น การผสมวงกลองในล้านนาอาจจะมีการใช้เครื่องดนตรีชนิดอื่นๆประกอบการตีกลอง เช่น ฆ้องและฉาบ หรืออาจะมีเพียงเฉพาะวงกลองตีกันเป็นกลุ่ม วิธีการสร้างกลองและเทคนิคการบรรเลงของกลองแต่ละอย่างก็มีเทคนิคและวิธีการที่น่าสนใจ เสียงของกลองในแต่ละแบบก็สร้างสุนทรียภาพ ความเชื่อ วิธีคิด สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากจังหวะที่ให้ความหมายเฉพาะกลุ่ม ชาวล้านนาตีกลองเพื่อวัตถุประสงค์ทั้งการตีเพื่อเป็นพุทธบูชา และเพื่อความบันเทิงในการแข่งขันประชันกลองกันระหว่างชุมชน ซึ่งเป้นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุรุษเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการตีกลองต้องใช้พละกำลัง หรือการตีกลองส่วนมากจะตีเพื่อเป็นพุทธบูชา และนิยมตีกลองกันในวัดเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะผู้ตีกลองจะเป็นพระสงฆ์ พ่อหนาน พ่อน้อย ซึ่งส่วนมากจะเคยบวชเรียนภายในวัด ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสร้าง ดูแล และเป็นผู้ตีกลอง ความรู้ภูมิปัญญาเหล่านี้บางครั้งจึงเป็นความลับมีการแลกเปลี่ยนความรู้และรับรู้กันในวงแคบ กลองอืด กลองแอว และกลองหลวง กลองทั้งสามอย่างนี้เป้นกลองที่มีลักษณะ “กลองรูปทรงแก้วไวน์ Wine glass shape drum” กลองอืด กลองแอว และกลองหลวงล้วนมีลักษณะที่มีความใกล้เคียงกันทั้งรูปทรง การจ่ากลอง(การถ่วงเสียง) และการประสมวงการแห่ประโคม จะต่างกันตรงที่กลองแอวเวลาที่กลองแอวจะใช้ฝ่ามือตีลงบนหน้ากลองโดยไม่ต้องใช้ผ้าพันมือแล้วตีลงบนหน้ากลองเหมือนกับกลองหลวง กลองแอวยังมีอีกชื่อหนึ่งคือ “กลองตึ่งโนง” ที่นิยมใช้สำหรับการประกอบการฟ้อนเล็บของชาวล้านนา สาเหตุที่มีชื่อเรียกว่ากลองตึ่งโนง อาจจะเพราะเรียกชื่อตามเสียงของเครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบภายในวงกลองแอว เสียง “ตึ่ง” เกิดจากเสียงการตีกลองแอว เสียง “โนง” หรือ “นง” เกิดจากเสียงฆ้อง กลองอืด กลองแอวและกลองหลวง เป็นกลองประเภทเดียวกันต่างกันเพียงชื่อเรียก มีวิธีการแห่ประเช่นเดียวกัน บางพื้นที่เรียกกลองหลวงว่ากลองอืด เช่นในเขตพื้นที่จังหวัดตาก หรือบางพื้นที่เรียกกลองแอวว่าเป็นกลองอืดเช่นในจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นวิธีการเรียกที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ ส่วนกลองหลวงนั้นเป็นพัฒนาการการสร้างกลองแอวให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นมา มีวิธีการสร้างเหมือนกับกลองแอวแต่มีขนาดที่ใหญ่การขนย้ายหรือการแห่เข้าขบวนกลองจะต้องบรรทุกกลองหลวงบนล้อเกวียน ซึ่งกลองอืดและกลองแอวนิยมการหามกลองเพราะมีขนาดที่เล็กกว่ากลองหลวง วิธีการตีกลอง กลองหลวงมีสีที่แตกต่างจากกลองโดยทั่วไปคือจะต้องมีการพันมือด้วยผ้าเป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อตีลงบนหน้ากลองเพื่อให้เกิดเสียงและใช้แรงในการตีกลองมากกว่าการตีกลองแอวและกลองอืดเป็นอย่างมาก กลองหลวง เป็นกลองหน้าเดียว มีขนาดใหญ่และยาวมาก อาจกล่าวได้ว่าเป็นกลองที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดของประเทศไทยก็ว่าได้ กลองหลวงเดิมนั้นเป็นที่นิยมกันในหมู่ชาว “ไทยอง” แถบบริเวณสองฝั่งลำน้ำปิงในจังหวัดล้าพูนและเชียงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณอำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูขึ้นจนเป็นที่นิยมในเขตล้านนาปัจจุบัน กลองหลวง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลองห้ามมาร อาจเนื่องจากเป็นกลองที่ใช้ตีสำหรับเวลามีงานบุญที่ยิ่งใหญ่ เช่น งานสมโภชพระธาตุ และงานปอยหลวง เป็นต้น งานเหล่านี้มักใช้กลองหลวงตี และเชื่อว่าเสียงของกลองสามารถเอาชนะมารอันหมายถึงการทะเลาะวิวาทในงานอีกด้วย และนอกจากนี้จะมีการนิมนต์พระอุปคุต ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระเถระที่บ้าเพ็ญเพียรอยู่ในมหาสมุทรมีฤทธิ์ปราบปรามมาร เมื่อนิมนต์มาแล้วชาวบ้านจะแห่พระอุปคุตซึ่งใช้หินจากแม่น้ำเป็นตัวแทนมาไว้ที่หออุปคุตในบริเวณจัดงาน เพื่อห้ามเหล่ามารมิให้เข้ามาท้าลายพิธีงานบุญได้ และในการแห่มักใช้กลองหลวงด้วย กลองหลวงนี้พระครูเวฬิวันพิทักษ์ วัดพระบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดล้าพูน เล่าว่ามีมาเมื่อราว 80 ปีเศษมานี้เอง โดยช่างชื่อหนานหลวง บ้านทุ่งตุม ตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ทำขึ้นก่อนมีขนาดหน้ากลองใหญ่ 20 นิ้ว ยาวประมาณ 140 นิ้ว (7 ศอก) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากลองทั่วไปในขณะนั้น และน้ามาถวายพระครูพุทธิวงศ์ธาดา วัดฉางข้าวน้อยเหนือ เจ้าคณะแขวงปากบ่อง (คืออำเภอป่าซางปัจจุบัน) เพื่อใช้สำหรับแห่ครัวทานหรือไทยทานและตีแข่งกัน ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จึงมีผู้ท้าขึ้นเลียนแบบในเวลาต่อมา โดยได้พัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นตามล้าดับ เป็นขนาดหน้ากลอง22 นิ้ว 24 นิ้ว และ 26 นิ้ว จนปัจจุบันขนาดใหญ่ที่สุดคือ 28 นิ้ว ยาว 130 นิ้ว หรือ 6 ศอก 10 นิ้ว สำหรับกลองหลวงใบแรกนั้น กล่าวกันว่ามีเสียงดังมาก นำไปตีแข่งที่ไหนก็ชนะ ต่อมาได้รับการแนะน้าว่าถ้าตัดหน้าให้สั้นลงอีก เสียงจะดังกว่าเดิมจึงกระท้าตาม แต่ปรากฏว่าพอตัดแล้วเสียงกลับลดลงกว่าเดิม ปัจจุบันกลองใบนี้ได้สูญหายไป แต่ส่วนของหน้ากลองที่ตัดออกยังมีอยู่ที่วัดฉางข้าวน้อยเหนือก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขนาดหน้ากลอง 22 นิ้ว และ 24 นิ้ว เคยเป็นขนาดที่นิยมใช้กัน แต่เมื่อสงครามยุติลงสถานการณ์ไม่อ้านวย การแข่งขันตีกลองหลวงจึงหยุดชะงักไป จนกระทั่งพระครูเวฬุวันพิทักษ์ วัดพระบาทตากผ้าได้ฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่ปัญหาที่ประสบคือกลองดั้งเดิมในเขตจังหวัดล้าพูนหาได้ยาก เพราะผุพังไปตามกาลเวลา และไม่มีช่างท้าขึ้นอีก นอกจากนี้ยังมีคนจากที่อื่นมาขอซื้อกลองขนาดใหญ่ไปอีกด้วย กลองหลวงจะนำออกมาใช้งานในแต่ละปีเมื่อหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวไปจนถึงสงกรานต์ คือเริ่มตั้งแต่มกราคม – มิถุนายน การใช้งานจะมี 2 ลักษณะคือ 1. การใช้กลองหลวงในขบวนแห่ เมื่อวัดใดจัดให้มีงาน เช่น งานสรงน้ำพระธาตุ ฉลองพัดเปรียญ ปอยหลวง (งานฉลองสมโภชเสนาสนะฉ และแห่พระพุทธรูปสำคัญ เป็นต้น ซึ่งมักมีการจัดขบวนแห่ที่มีกลองหลวงร่วมด้วย และในงานบุญหนึ่ง ๆ จะมีขบวนแห่ของวัดอื่น ๆ ส่งมาร่วมขบวนท้าบุญด้วย 2. การใช้กลองหลวงเพื่อการตีแข่งขันในงานบุญต่าง ๆ ดังกล่าว เมื่อขบวนแห่เสร็จสิ้นแล้วในช่วงบ่าย บางวัดมักจัดให้มีการตีกลองหลวงเพื่อแข่งขันกัน ระหว่างกลองที่มาจากวัดต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ท้องถิ่นที่นิยมการแข่งขันตีกลองหลวงมากที่สุดจะอยู่ในท้องที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ส่วนที่อื่นจะมีในเขตอำเภอจอมทอง สันป่าตอง แม่แจ่ม สันทราย และสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กลองอืด กลองแอว เป็นกลองชนิดหนึ่งคล้าย กลองหลวง แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 1 ใน 4 ของกลองหลวง ขึงด้วยหนังหน้าเดียว ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้แดง พบในจังหวัดแพร่และน่าน ใช้ประกอบการฟ้อนเล็บหรือแห่ขบวนต่าง ๆ เช่น ฟ้อนกลองอืด ฟ้อนเมือง ฟ้อนเล็บ ฟ้อนแห่ครัวตาน ฯลฯ มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ได้แก่ ฆ้องใหญ่ ฆ้องกลาง ฉาบใหญ่ 1 คู่ และ “ผ่าง” หรือ “พาน” (ฆ้องไม่มีปุ่ม) กลองอืดนี้ บ้างว่าเป็นชนิดเดียวกับกลองแอว กลองแอวมีชื่อเรียกขานต่างกันไป บางแห่งอาจเรียกตามรูปลักษณ์ที่พบเห็น เรียกตามเสียงที่ได้ยินหรือเรียกตามตำนานเล่าขานสืบกันมา อย่างไรก็ตาม พอสรุปได้ว่า กลองแอว เป็นชื่อเรียกตามรูปลักษณ์ที่พบเห็น คือมีลักษณะคอดกิ่วตรงกลางคล้ายสะเอว ซึ่งภาษาล้านนาเรียก "แอว” จึงได้ชื่อว่า "กลองแอว” กลองอืดเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในจังหวัดแพร่และน่านบางส่วน สาเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะเสียงกลองที่ดังกังวานยาวนาน เรียกเสียงประเภทนี้โดยทั่วไปว่า เสียงอืด หรือ เสียงลูกปลาย อ้างอิง ธิติพล กันตีวงศ์,2560,ดนตรีวิถีชาติพันธุ์ วัฒนธรรมกลองในสังคมล้านนา,วารสารศิลปะและวัฒนธรรม,สำนักศิลปะและวัฒนะธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. สนั่น ธรรมธิ.2550. นาฎดุริยการล้านนา. เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


ที่ตั้ง
เลขที่ : ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :567 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 12/09/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 12/09/2022