เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ (ร.ศ.๑๑๕ ค.ศ.๑๘๙๖ จ.ศ.๑๒๕๘) ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑ ค่ำ เดือน๔ มีพระปฏิบัติราชประสงค์ (เป็นชาวฝรั่ง ชาติออสเตรียชื่อมูลเล่อร์)กับนางจีนซึ่งเป็นภรรยา ขออนุญาตสร้างพระอารามเพื่อเป็นที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสามเณร และได้รับอนุญาตให้สร้างวัดได้เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ( ร.ศ. ๑๑๕ ค.ศ.๑๘๙๖ จ.ศ.๑๒๕๘ ) ตรงกับวันศุกร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ (หลัง) ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ครั้งต่อมาเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ พระปฏิบัติราชประสงค์ ได้ทำหนังสือขอถวายเป็นพระอารามหลวง เมื่อเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดเมืองธัญบุรี พระองค์ทรงมีพระดำรัสรับสั่งว่า“การที่จะถวายและรับเป็นวัดหลวงนั้นเป็นการที่เกี่ยวข้องกับการบำรุง เช่น ให้นิตยภัต และกฐินเป็นต้น วัดหลวงมีมากแล้ว รัฐบาลไม่อยากจะให้รับ”
เลขที่ : ต. บึงยี่โถ อ. ธัญบุรี จ. ปทุมธานี 12130
- พระครูธัญเขตคณารักษ์ (วิเชียร ธญญทินฺโน)
- ธงเทพ ศิริโสดา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี :
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี