EL-50270-00004 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]
ภาษากะเหรี่ยง
Karen Language
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
ภาษา
EL:Thai local and Ethnic Languages
ภาษากลุ่มชาติพันธุ์
ข้อมูล/ประวัติ
ภาษากะเหรี่ยง ภาษากะเหรี่ยงเป็นภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า และมีสาขาย่อยลงไปอีกหลายกลุ่ม แต่ในอำเภอแม่แจ่ม ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงสะกอ และมีกะเหรี่ยงโป อยู่บางส่วน ซึ่งภาษากะเหรียงสะกอ และกะเหรี่ยงโป จะพูดไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะอยู่ตระกูลเดียวกันก็ตาม และจะพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง ฉะนั้น การพูดคุยกันระหว่างกลุ่มจึงจำเป็นต้องใช้กลุ่มหลักนั่นคือ ภาษาสะกอ ในการติดต่อสื่อสารกัน ภาษาสะกอ ก็ยังคงมีหลายสำเนียงด้วย เช่นกะเหรี่ยงสะกอในอำเภอแม่แจ่ม และอำเภอแม่สะเรียง ก็พูดคุยกันคนละสำเนียงที่แตกต่างในระดับเสียงวรรณยุกต์ (สัมภาษณ์ นายอนันต์ สุขสันต์ฤทัย, 2560) ภาษากะเหรี่ยงแต่เดิมไม่มีอักษรใช้ เวลาจะบันทึก ก็จะใช้อักษรไทยในการเขียน แต่ก็มีข้อจำกัน การเขียนด้วยอักษรไทยมักจะออกเสียงไม่ตรงกับภาษากะเหรี่ยง ปัจจุบัน อักษรทีชาวกะเหรี่ยงสะกอใช้บันทึกเรื่องราวของตัวเอง มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน ซึ่งเข้ามากับการสอนศาสนาคริสต์ (สัมภาษณ์ นายสิงหา แซ่ตึ้ง, 2560) ๑. อักษรโรมัน เข้ามาในแม่แจ่มโดยการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิการคาทอลิก ๒. อักษรที่พัฒนามาจากอักษรพม่า มักจะเป็นกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายโปแตสแตนต์ และกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ และมักพบเห็นในเขตอำเภอจอมทอง และในอำเภอแม่แจ่ม ก็จะเห็นป้ายที่เป็นอักษรนี้


ที่ตั้ง
เลขที่ : โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๑ ต. ช่างเคิ่ง อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 50270
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- เจษฏา สุภาศรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :404 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 19/08/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 19/08/2022