SM-50270-00007 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]
บ่ากอน
Ba Korn
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
กีฬาภูมิปัญญาไทย
SM:Folk Sport game and Martial arts
การเล่นพื้นบ้าน
ข้อมูล/ประวัติ
“เล่นบ่ากอน” การเล่นบ่ากอน เป็นการละเล่นของหนุ่มสาว ที่เริ่มจะจีบกันเป็น “ตัวพ่อตัวแม่” หรือเป็นคนรักกัน ก็จะจับคู่เล่นระหว่างหนุ่มสาว นิยมเล่มกันในช่วงก่อนสงกรานต์เล็กน้อย ลูกบ่ากอนทำมาจากผ้าเย็บเป็นถุง ข้างในใส่ด้วยเม็ดมะขาว ใช้โยนไปมาระหว่างกัน ใครรับลูกบ่ากอนไม่ได้ ก็แพ้ไป ต้องปรับไหมเป็นของที่อยู่กับตัวฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นสำคัญ นับเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้เรียนรู้กันและกัน การเล่นบ่ากอน บ่ากอนหรือลูกช่วง มักจะเล่นตอนกลางคืน หรือช่วงเทศกาลปีใหม่ ปัจจุบันก็เริ่มหายกันไป ด้วยไม่ค่อยได้เล่นกัน ซึ่งการละเล่นนี้ แม่อิ่นศรี กรรณิกา ผู้เล่า ได้เล่าให้ฟังจากการเห็นรุ่นพี่เป็นคนเล่น ขณะที่ตนเองนั้นอายุได้ประมาณ 5-6 ปี แม่อิ่นศรีเล่าว่า บ่ากอน ทำมาจากผ้า เย็บให้เป็นถุง บรรจุเม็ดมะขาม เวลาโยนจะยินเสียงเม็ดมะขามกระทบกัน ยิ่งโยน – รับ กันไปมา ก็จะได้ยินเสียงบ่ากอนดังอยู่ไม่ขาด เป็นการละเล่นของหนุ่มสาว ที่จะมาพบปะพูดคุยกัน การโยนหากรับไม่ได้ ก็จะมีการปรับไหมระหว่างกัน โดยยึดสิ่งของของอีกฝ่ายมา แล้วให้อีกฝ่ายมาไถ่คืนเอาตอนหลัง ซึ่งหากใครต้องตาต้องใจกันแล้ว ก็ย่อมที่จะไปสู่การ “แอ่วสาว”, “อู้บ่าวอู้สาว” และ “กินแขกแต่งงาน” ในขั้นสุด


ที่ตั้ง
เลขที่ : บ้านไร่ ต. ท่าผา อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 50270
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- เจษฏา สุภาศรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :354 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 19/08/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 19/08/2022