TC-50270-00005 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]
ช่างเงิน
silversmith
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
งานช่างฝีมือดั้งเดิม
TC:Traditional Craftsmanship
เครื่องโลหะ
ข้อมูล/ประวัติ
ช่างเงิน ช่างที่ทำเครื่องเงิน มักจะเป็นชาวลัวะ ที่มีเทคนิควิธีการ ลวดลายเฉพาะตัว ชาวลัวะมักใช้เครื่องประดับที่ทำจากเงิน เช่น ตุ้มหู กำไลหรือสร้อยที่ใช้เชือกถักเม็ดเงิน มีดหลูบเงิน เป็นต้น หมู่บ้านที่เป็นช่างเงินนั้นส่วนใหญ่อยู่ที่บ้านแปะ ตำบลปางหินฝน พ่อดวงตา วันจิตรพนา เล่าให้ฟังว่า ส่วนใหญ่จะทำ “ฮางเมา” หรือสร้อย สร้อยที่ว่าคือการร้อยเม็ดเงิน (เม็ดเงินที่คล้ายเงินพดด้วง) ซึ่งใช้สำหรับการรับขวัญเด็ก หรือมอบให้เจ้าสาวในงานแต่งงานเป็นต้น วิธีการทำเม็ดเงินสำหรับร้อยนั้น มักจะเป็นเงิน 92.5% (ผสมทองแดง เพื่อให้เงินแข็งขึ้น ขึ้นรูปได้ง่าย) แรกเริ่มนั้นก็นำเม็ดเงินมาหลอมในเบ้าหลอม โดยกะสัดส่วนผสมให้พอเหมาะ (ซึ่งสัดส่วนการผสมนี้ มักจะเป็นความลับ) เบ้าหลอมเป็นเบ้าหลอมดินเผา เมื่อเงินหลอมในเบ้าแล้ว ก็จะเป็นก้อนขนาดที่ต้องการ แล้วจึงนำมาตึขึ้นรูป แล้วมาต้มในน้ำส้มป่อยเพื่อให้เงินเงางาม (สัมภาษณ์นายดวงตา วันจิตรพนา, 2561) จากนั้นมีการตอกลาย เรียกว่า “ลายไข่ปลา” อันหมายถึงความร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ เพราะปลา 1 ตัว นั้นมีไข่ในท้องจำนวนมาก (สัมภาษณ์นายวรรัตน์ ผองชนอารยะ, 2561) ชาวลัวะมักมีความสัมพันธ์กับปลา นอกจากจะใช้ปลาในพิธีกรรมแล้ว ยังมีการตอกรูปปลา ไว้ที่ก้นปลอกดาบอีกด้วย การตีเครื่องเงิน นอกจากจะตีฮางเมา หรือสร้อยแล้ว ยังมีการทำ ลาน (จี้หู), ปักมือ (แหวน) อันเป็นเครื่องประดับ และนอกจากนี้ยังมีการตีใบดาบ และปลอกดาบหรือมีดอีกด้วย ซึ่งมีดหุ้มเงินด้ามงา นั้น จะเป็นเครื่องประดับผู้ชาย อันแสดงถึงฐานะและความร่ำรวย ในการแต่งตัวเต็มยศ จะห้อยมีดหุ้มเงินด้ามงาไว้ที่เอว


ที่ตั้ง
เลขที่ : บ้านแปะ ต. ปางหินฝน อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 50270
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- เจษฏา สุภาศรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :380 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 19/08/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 19/08/2022