SP-90000-00012
โนราโรงครู
Nora Rong Khru Ritual
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
SP:Social Practices, ritual and festive events
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
ข้อมูล/ประวัติ
โนราโรงครูเป็นการแสดงโนราประกอบพิธีกรรมที่ปรากฏอยู่ในวิถีของคนภาคใต้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการแสดง ๓ ประการ คือ เพื่อเป็นการเคารพบูชาและแสดงความกตัญญูต่อวิญญาณบรรพบุรุษ เพื่อแก้บนหรือแก้เหมฺรย และเพื่อทำพิธีครอบครูโนราและรักษาโรคต่าง ๆ การแสดงโนราโรงครูจะมี ๒ ประเภท คือ ๑) การแสดงโนราโรงครูใหญ่ เป็นการแสดงโนราโรงครูสมบูรณ์แบบถูกต้องครบถ้วนตามประเพณีและนิยมแสดงโดยทั่วไปใช้เวลา ๓ วัน ๒ คืน ๒) การแสดงโนราโรงครูเล็กหรือโรงค้ำครู เป็นการแสดงเพื่อยืนยันว่าจะมีการจัดโรงครูใหญ่อย่างแน่นอน ใช้เวลาแสดง ๑ วัน ๑ คืน การแสดงโนราโรงครูซึ่งจัดโดยทั่วไปจะเริ่มในเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายนเริ่มพิธีในวันพุธถึงวันศุกร์ การแสดงโนราโรงครูจะมีองค์ประกอบและรูปแบบการแสดงโนราสมบูรณ์ครบถ้วนทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรำ การร้อง การแสดงเป็นเรื่อง และการบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรมที่ทำให้เกิดศิลปะการแสดงโนราสืบทอดต่อมาอย่างยั่งยืน เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ร่วมประกอบพิธีกรรมโดยเรียบง่ายไม่ซับซ้อนและเข้าถึงพิธีกรรมได้อย่างลึกซึ้ง ปัจจุบัน โนราโรงครูยังคงมีการสืบสานอย่างเคร่งครัดในหลายจังหวัด เช่น สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง เป็นต้น นอกจากนี้พิธีกรรมโนราโรงครูยังส่งผลต่อการปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมแก่คณะโนรา ลูกหลาน ตายายโนราและชาวบ้านทั่วไป เป็นการแสดงออกถึงความสำนึกในความกตัญญูรู้คุณต่อครูบาอาจารย์ บิดามารดา พ่อแม่ตายาย ทั้งที่ล่วงลับแล้วและยังมีชีวิตอยู่ บุคคลที่ถูกเลือกเป็นคนทรงครูหมอโนรา จะต้องประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีเมตตากรุณา มีความซื่อสัตย์ ไม่ผิดลูกเมียผู้อื่น ตัดขาดจากอบายมุขทั้งปวง หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ได้รับการยอมรับจากครูหมอโนราและยังจะถูกลงโทษด้วยวิธีการต่าง ๆ การปฏิบัติตนดังกล่าวนอกจากจะเป็นการควบคุมตนเองแล้วยังเป็นแบบอย่างแก่ชาวบ้านทำให้ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธาจากชาวบ้านในสังคมนั้นด้วย โนราโรงครูเป็นพิธีกรรมประเภทรักษาโรค และสร้างขวัญกำลังใจ มีรูปแบบหรือลักษณะของการแสดงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.โนราโรงครูใหญ่ หมายถึงโนราโรงครูเต็มรูปแบบ ปกติการรำโนราโรงครูใหญ่ทำกัน 3 วันจึงจบพิธี เริ่มตั้งแต่วันพุธไปสิ้นสุดในวันศุกร์ และจะต้องทำกันเป็นประจำ เช่น ทุกปี ทุกสามปี ทุกห้าปี แล้วแต่จะกำหนด การรำเช่นนี้จำเป็นต้องใช้เวลาเตรียมการนาน ใช้ทุนทรัพย์ค่อนข้างสูง 2.โนราโรงครูเล็ก หมายถึง การรำโนราโรงครูแบบย่อ ใช้เวลารำเพียง 1 คืนกับ 1 วันเท่านั้นปกติ จะเข้าโรงครูในตอนเย็นของวันพุธไปสิ้นสุดในวันพฤหัสบดี


ที่ตั้ง
เลขที่ : ต. อ. จ. สงขลา 90000
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- Korarit_gt : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :376 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 20/08/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 20/08/2022