"การทำบายศรีนี้มักทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีทั้งระดับชั้นพรหมและ
ชั้นเทพที่เรียกกันว่า บายศรีพรหม และบายศรีเทพ บายศรีเหล่านี้จะมีความงดงามอลังการ และ
วิจิตรบรรจง ตามความคิดสร้างสรรค์จินตนาการของผู้ประดิษฐ์ และตามความสำคัญของเทพเจ้า
โดยมีหลักเกณฑ์ในการทำบายศรีแต่ละต้น ส่วนใหญ่มักนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนา มาเป็น
แนวคิดประดิษฐ์ตกแต่ง เช่น อริยสัจ 4 มรรค โพธิปักขิยธรรม 37 หรือนำความเชื่อเรื่องระบบ
จักรวาล หรือไตรภูมิ ที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแวดล้อมด้วยทิวเขาสำคัญ หรือความเชื่อในเรื่อง
พรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา สำหรับรูปแบบการทำบายศรีนั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละสำนัก
เช่น การถือหลักนับตัวแม่ตัวลูกบายศรีเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น บายศรีพรหมและบายศรีเทพ มี
จำนวนตัวแม่ตัวลูกบายศรีเป็นเลขคู่ และเป็นที่รู้กันว่า จะนำบายศรีแบบใดไปสักการะพรหม หรือ
เทพองค์ใด อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสำนักใดจะทำบายศรีเป็นรูปแบบใด บายศรีเหล่านั้นก็ล้วนแต่มี
ความหมายเป็นมงคลทั้งสิ้น บายศรีที่นิยมใช้ในการสักการะเจ้าพ่อพญาแล ที่นิยมมาตั้งแต่อดีตจะ
เป็นบายศรีปากชาม 1 คู่ ต่อมาก็มีการพัฒนาให้ดูสวยงามและใหญ่ขึ้น จึงมีการสักการะบายศรีใน
ลักษณะอื่นในการสักการะเจ้าพ่อพญาแลด้วย เช่น บายศรีเทพ บายศรีพรหม หรือบายศรีบัลลังก์ เป็นต้น"
เลขที่ : ชุมชนโนนสมอ ต. ในเมือง อ. เมืองชัยภูมิ จ. ชัยภูมิ 36000
- สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นงานศิลปหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดชัยภูมิได้
- นราศักดิ์ ภูผายาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ :
- ดร.ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี โทร.089-4219486 E-mail : Sutamdee_22@hotmail.com