ลักษณะวัฒนธรรมประเภทของอาหารคาว ของชุมชนบ้านใหม่สวายจีก มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีของหมู่บ้าน ดังนี้ เป็นอาหารที่ชุมชนนิยมนำมาเลี้ยงแขกในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน งานบวช ทำบุญบ้าน ทำบุญเลี้ยงผีปู่ย่า ตายาย ในสมัยก่อน ได้แก่ อาหารประเภทแกง อาทิ 1) แกงกล้วยใส่ไก่ เพราะเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายภายในครัวเรือน และมีสรรพคุณที่ดี สำหรับหญิงที่เพิ่งคลอด เพราะเป็นอาหารที่ไม่ผิดสำแดง และยังบำรุงน้ำนม อีกทั้งใบแมงลักหรือใบกะเพรา มีฤทธิ์ร้อน ทำให้เกิดความสบายตัว 2)แกงขี้เหล็ก และ 3)แกงฟักทอง ใช้สำหรับเลี้ยงญาตินอกจากนี้ยังมีการนำวัตถุดิบที่ขึ้นตามฤดูกาลมาประกอบอาหาร เช่น ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม จะแกงผักหวานใส่ไข่มดแดง แกงหัวปลีใส่ไข่มดแดง หรือในฤดูหนาวจะเป็นแกงบุกใส่เห็ดเผาะและปลาย่าง แกงเผือกใส่ปลาย่างผักขะแยงและน้ำมะขาม หรือน้ำพริกปลา กะทิ เป็นต้น อาหารประเภทต้ม เช่น ต้มไก่ใส่ยอดหม่อน หรือ ต้มไก่ใส่ยอดมะขาม การใส่ยอด หม่อน เพื่อให้รสชาติของน้ำซุปมีรสชาติหวานเหมือนกระดูกหมู ขนมจีน (รับประทานในช่วงเทศกาลสงกรานต์) เพราะเส้นมีลักษณะยาว จึงใช้สำหรับ งานมงคล ใช้น้ำยาปลาช่อน ปลานิล หรือปลาดุก อาหารคาว เช่น ลาบ เป็นอาหารที่ใช้ในงานมงคล เพราะชื่อเป็นมงคล รวมทั้งเป็นตัว บ่งบอกฐานะของเจ้าภาพ เพราะเป็นอาหารที่มีเนื้อหมูมาก ข้าวเจ้าที่รับประทานจะเป็นพันธุ์เสาไห้หรือพันธุ์ข้าวเหลืองปะทิว อาหารประเภท ของหวาน เช่น ข้าวต้มมัดเขมร
สภาพปัจจุบัน : ยังคมนิยมทำกินกันเป็นประจำในชุมชน มีผู้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันหลายครัวเรือน
เลขที่ : บ้านใหม่สวายจีก ต. สวายจีก อ. เมืองบุรีรัมย์ จ. บุรีรัมย์ 31000
-
- ดร.จิรายุฑ ประเสริฐศรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ :
-