กลองมองเซิง มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคสมัยของคนเฒ่าคนแก่ได้สืบทอดมาเป็นรุ่นสู่รุ่น โดยเป็นกาละเล่นดนตรีของคนไทใหญ่ที่มีการร้องรำทำเพลง เป็นการเล่นดนตรีเป็นกลุ่มไม่ต่ำกว่า8คนโดยควบคู่กับการฟ้อนการรำตามจังหวะเพลงส่วนมากจะขึ้นแสดงในงานบุญงานมงคล เช่น งานทำบุญบ้าน งานบวช กองมองเซิงเป็นกลองที่ได้รับอิทธิพลจากชาวไทใหญ่ พบเห็นโดยทั่วไปโดยเฉพาะบริเวณจังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และแม่ฮ่องสอน เรื่องของกลองชนิดนี้มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้กลองมองเซิง คือกลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้า มีสายโยงเร่งเสียง รูปร่างคล้ายตะโพนมอญ ไม่มีขาตั้ง แต่มีสายร้อยสำหรับคล้องคอเวลาตี เฉพาะคำว่า “มองเซิง” เป็นภาษาไทใหญ่ โดยที่คำว่า “มอง” แปลว่า “ฆ้อง” ส่วน “เซิง” แปลว่า “ชุด” กลองมองเซิงจึงหมายถึง กลองที่ใช้ฆ้องเป็นชุด เพราะวงกลองมองเซิงจะเน้น เสียงฆ้องเป็นหลักใหญ่
เส้นเวลา (Timeline)
เลขที่ : ชุมชนสันป่าก่อ ต. รอบเวียง อ. เมืองเชียงราย จ. เชียงราย 57000