PA-57000-00001
การฟ้อนนก
kanfonnok
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
ศิลปะการแสดง
PA:Performing Arts
นาฏศิลป์และการละคร
ข้อมูล/ประวัติ
การฟ้อนนกหรือการ “ฟ้อนนกกิ่งกะหร่า” ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในเทศกาลวันออกพรรษาของชาวไทใหญ่ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายร้อยปี ด้วยเหตุที่ชาวไทใหญ่นับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัดเทศกาลออกพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 จึงเหมือนเป็นประเพณีที่ชาวไทใหญ่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยถือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ ดังเรื่องราวพุทธประวัติที่เล่าขานกันไว้ว่า ในวันออกพรรษาเป็นวันที่สมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดาซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์ครั้นถึงวันปวารณาออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธองค์จึงเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดทิพย์ทั้ง 3 ได้แก่ บันไดเงิน บันไดทอง และ บันไดแก้ว ซึ่งสักกเทวราช (พระอินทร์)ให้พระวิษณุกรรมเนรมิตทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์เมื่อความทราบดังนั้นเหล่าบรรดาสิงสาราสัตว์น้อยใหญ่ในป่า หิมพานต์แดนไกล และนักสิทธิ์วิทยาธรรูปร่างแปลก ๆ รวมถึงมนุษย์ต่างก็ยินดีที่จะได้พบกับพระพุทธองค์ จึงมีการเตรียมการแสดงไว้คอยต้อนรับด้วยพากันมาฟ้อนรำแสดงความยินดีในการเสด็จกลับมาของพระพุทธเจ้า คนไทใหญ่ยึดเหตุการณ์ในพุทธประวัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมา จึงจำลองชุดเครื่องแต่งกายขึ้นมาสวมใส่และฟ้อนรำคล้ายกับเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าจนกลายเป็นประเพณีของชาวไทใหญ่ที่นิยมแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายที่มีส่วนปีก ส่วนหางและลำตัวแบบนกกิ่งกะหร่าหรือกินนร แล้วร่ายรำเลียนแบบอากัปกิริยาตามจินตนาการที่เสมือนเป็นนกกิ่งกะหร่า เรียกกันว่า “การฟ้อนนกกิ่งกะหร่า”หรือ “รำกิ่งกะหร่า” เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในเทศกาลวันออกพรรษาของทุกปีเมื่อ “การฟ้อนนกกิ่งกะหร่า” ของชาวไทใหญ่เป็นประเพณีที่ถูกเผยแพร่ออกไปในวงกว้าง จึงกลายเป็นที่นิยมแสดงในโอกาสสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการแสดงในช่วงของวันออกพรรษาแล้ว โดยเฉพาะในแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ด้วยจินตนาการว่านก “กิ่งกะหร่า” หรือกินนร หรือกินนรีเป็นอมนุษย์เป็นครึ่งคนครึ่งนก หรือนัยว่ามีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหนก็จะใส่ปีกใส่หางบินไป ชาวไทใหญ่ได้จำลองชุดนกกิ่งกะหร่าขึ้นมาสวมใส่ ประกอบด้วยชุดที่มีส่วนปีก ส่วนหางและลำตัว มีท่วงท่ารำที่อ่อนช้อย เรียกชื่อการแสดงนี้ว่า“ระบำนกกิ่งกะหร่า” หรือ “ฟ้อนนกกิ่งกะหร่า” อันสะท้อนเอกลักษณ์ตามแบบฉบับและวิถีของชุมชนชาวไทใหญ่ โดยเฉพาะในจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับจากในอดีตจวบจนกระทั่งปัจจุบันซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะทำรูปร่างลักษณะ แตกต่างกันออกไปและมีชื่อเรียกต่างกันไปอีกหลายอย่าง


ที่ตั้ง
เลขที่ : ชุมชนสันป่าก่อ ต. รอบเวียง อ. เมืองเชียงราย จ. เชียงราย 57000
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- นางแสงดาว สมศรี
ผู้บันทึกข้อมูล
- ผศ.ดร.ศศิพัชร์ หาญฤทธิ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย :
ช่องทางติดต่อ
- 0896357727
มีผู้เข้าชมจำนวน :467 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 17/11/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 17/11/2022