AR-10530-00043 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]
มัสยิดดารุ้ลฮ่าซ่านัย
Darun Hasanai Mosque
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
สถาปัตยกรรม
AR:ARchitecture
ศาสนสถาน
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
แหล่งพิธีกรรม
ข้อมูล/ประวัติ
มัสยิดดารุ้ลฮ่าซ่านัยเริ่มมีการปลูกสร้างมัสยิดดารุ้ลฮ่าซ่านัยในวันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นการปลูกสร้างบนพื้นที่ซึ่งเป็นที่ดินที่ฮัจยีสุไลมาน ฮัจยะห์ฮาวอ และคณาเว ได้อุทิศให้เป็นเนื้อที่ทั้งหมด 5 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา โดยมีแผนผังขนาด 8*12 เมตร (กว้าง 4 วา ยาว 6 วา) เป็นทรงปั้นหยาหักมุมใช้ไม้เป็นพื้นที่ชั่วคราวหลังคามุงสังกะสี ฝาไม้ยาง วัสดุในการก่อสร้างจำนวน 2 หมื่นเศษ ซึ่งเงินที่ใช้ปลูกสร้างทั้งหมดได้รับความอนุเคราะห์ (บริจาค) จากผู้มีจิตศรัทธา และฮัจยีอารีฟีน ประเสริฐกรรณ์ ในฐานะกรรมการประจำจังหวัดในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีวางศิลารากฐาน และได้ให้ชื่อมัสยิดนี้ว่า มัสยิดดารุ้ลฮาซานัย ในการปลูกสร้างครั้งนั้นได้รับความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ และเสียสละจากบรรดาช่างในยุคนั้นอาทิ นายวิวัฒน์ (มะฮฺมุด) นุซซอและฮ์ นายนี สบู่รักษ์ นายแอ ดอกกระฐิน นายสนิท (ซุโกร) ป้อมขุนพรม นายแอน ฮิมมิน และนายสุชาติ (อุมาร) มะหะหมัดซอและฮ์ ตลอดจนบรรดาสัปปุรุษที่ได้ร่วมมือ ต่อมาผู้ใหญ่สันติ (ฮัจยีฮาซัน) สนนุกิจ ได้เรียนเชิญอาจารย์รังสฤษฏ์ เชาวนศิริ ซึ่งเป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มาทำพิธีจดทะเบียนมัสยิด แต่การจดทะเบียนในครั้งนั้นยังไม่เรียบร้อยจึงได้ดำเนินการจดทะเบียนในรูปมูลนิธิก่อน ต่อมาภายหลังได้รับอนุญาตจดทะเบียนเป็นมัสยิดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมทั้งการอนุญาตให้จดทะเบียนสุสานด้วย และหารือกันเพื่อสร้างโรงเรียนสอนศาสนา เพื่อให้ลูกหลานได้มีโอกาสศึกษาวิชาการด้านศาสนา ณ ที่มัสยิดแห่งนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ฮัจยีสุไลมาน ฮัจยะห์ฮาวอ และคณาเว ก็ได้อุทิศที่ดินให้อีกจำนวน 3 ไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ปลูกสร้างโรงเรียนประชาบาล (สามัญ) โดยมอบให้ผู้ใหญ่สมัย มีมูซอ และคณะไปติดต่อกับทางศึกษาธิการอำเภอหนองจอก (ชื่อเรียกในสมัยนั้น) ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำชี้แจงทางฝ่ายการศึกษาธิการอำเภอ ว่าอันที่จริงการจะยกที่ดินให้เพื่อทำการปลูกสร้างโรงเรียนประชาบาลนั้นต้องใช้ที่ดินถึง 6 ไร่ จึงจะได้รับการอนุมัติจากทางราชการ และอุปกรณ์ทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการเรียนการสอนนั้นต้องจัดการมาเอง จึงได้มีการปรึกษาหารือกันจนในที่สุดก็ได้มีการลงมติให้ดำเนินการไปตามคำชี้แจงของทางศึกษาธิการ โดยฮัจยีสุไลมาน ฮัจยะห์ฮาวอ และคณาเว ได้อุทิศที่ดินเพิ่มเติมให้อีก 3 ไร่ รวมเป็น 6 ไร่ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ทางราชการจึงอนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนประชาบาลตามความประสงค์ของผู้อุทิศ โดยการใช้อาคารโรงเรียนสอนศาสนาของมัสยิด เป็นที่เรียนไปก่อนชั่วคราว โดยมีครูกอเซ็ม มะหะหมัดศอและฮ์ เป็นผู้ทำการสอนคนแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ก็ได้รับใบอนุญาตทะเบียนมัสยิดเลขที่ 102 ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณฮัจยีอารีฟีน ประเสริฐกรรณ์ เป็นอย่างสูง ที่ได้ช่วยดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งในขณะนั้นฮัจยีอารีฟีน ประเสริฐกรรณ์ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร จึงนับว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีพระคุณกับพวกเราชาวมัสยิดดารุ้ลฮ่าซ่านัย ที่มา: https://www.cicot.or.th/th/mosque/detail/347/2/มัสยิดดารุ้ลฮ่าซ่านัย-คลองสิบเอ็ด


ที่ตั้ง
เลขที่ : ต. คลองสิบ อ. เขตหนองจอก จ. กรุงเทพมหานคร 10530
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- -
ผู้บันทึกข้อมูล
- นันธิดา อนันตชัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :432 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 19/01/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 19/01/2023