SP-94000-00008
ไส้กรอกวัว(ปือโฆะลือมูซูมะ)
Perau lummu
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
SP:Social Practices, ritual and festive events
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน
ข้อมูล/ประวัติ
ปือโฆะลือมูซูมะ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ไส้กรอกวัว คำว่า “ปือโฆะลือมู” หมายถึง ไส้วัว คำว่า “ซูมะ” หมายถึง ยัดใส่ ปือโฆะลือมูซูมะนับว่าเป็นอาหารที่เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่รู้จักนำวัตถุมาแปรรูปให้มีคุณค่า ว่ากันว่าสมัยก่อนในช่วงระยะเวลาวันอีดิลอัฏฮาของทุก ๆ ปีจะมีการปฏิบัติกิจกรรมที่สำคัญยิ่ง คือ การเชือดสัตว์เพื่อทำ “กรุบาน” สัตว์ที่ใช้ทำกรุบาน คือ อูฐ วัว ควาย แพะ แกะ กีบัช ซึ่งส่วนใหญ่ชาวไทยมุสลิมปัตตานีนิยมใช้ วัว ทำกรุบาน เนื้อสัตว์ที่ทำการกรุบานนั้น จะแจกจ่ายแก่คนยากจน ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนบ้านใกล้เคียง ส่วนเศษที่เหลือดังเช่น ไส้วัว ชาวบ้านในท้องถิ่นนำมาทำเป็นปือโฆะลือมูซูมะ เครื่อปรุงที่ใช้ในการทำปือโฆะลือมูซูมะ ประกอบ ไส้วัวที่ทำความสะอาดแล้ว ข้าวสวย เนื้อวัวติดมัน น้ำตาลปี๊บ เกลือ น้ำ เชือดฟางไว้ผูกเป็นท่อน วิธีทำ ล้างเนื้อวัวให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พักไว้ นำเนื้อวัวที่หั่นแล้วผสมน้ำตาลทราย เกลือ และข้าวสวย คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปยัดใส่ไส้วัวให้แน่น จนเต็มไส้ แล้วผูกเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้ว ด้วยเชือกฟาง นำไส้กรอกที่ผูกแล้วไปตากแห้งครึ่งวัน แล้วนำไปทอดหรืออบ หรือย่างตามต้องการ


ที่ตั้ง
เลขที่ : ตลาดเช้าจะบังติกอ ต. จะบังติกอ อ. เมืองปัตตานี จ. ปัตตานี 94000
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
-
ผู้บันทึกข้อมูล
- aruneewan : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี :
ช่องทางติดต่อ
-
มีผู้เข้าชมจำนวน :457 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 24/04/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 24/04/2022