การถือศีลอดมาจากภาษาอาหรับว่า “ศิยาม” ในทางภาษา หมายถึง การละ การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่น การละความชั่วยับยั้งสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง การละเว้นจากบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม หรือน้ำลายล่วงล้ำไปในลำคอละเว้น การร่วมสังวาล งดเว้นการพูดจาโกหกเหลวไหลไร้สาระ การนินทาว่าร้ายผู้อื่น การทะเลาะวิวาท และการเว้นจากพฤติกรรมชั่วทั้งโดยที่ลับ และที่เปิดเผย การถือศีลอดชาวไทยมุสลิมเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า”เดือนบวช”เป็นการปฏิบัติตามหลักศรัทธา 1 ใน 5 ข้อของรูก่นอิสลาม ตามศาสนาบัญญัติที่มุสลิมทั้งมวลต้องปฏิบัติเป็นการแสดงถึงการนอบน้อมและภักดีต่อพระองค์อัลเลาะห์ นอกจากการถือศีลอดเป็นสัสนบัญญัติเหตุผลอย่างอื่นเพื่อฝึกให้มี สติสัมปชัญญะไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวยมียศถาบรรดาศักดิ์ชายหรือหญิงจะต้องอบรมจิตใจตัดกิเลสตันหาทำจิตใจให้บริสุทธิ์ให้มีความอดทนมีเมตตากรุณาแก่บุคคลทั่วไปต้องการให้สำนึกและรู้รสแห่งความยากลำบากหิวโหยโดยเฉพาะคนร่ำรวยจะได้เกิดจิตสำนึกมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ช่วยเหลือบริจาคทานแก่ผู้ยากจน(ซากาต)และสิ่งที่สำคัญคือการปฏิบัติตามกฎที่บังคับของหลักการศาสนาอิสลาม ขั้นตอนการทำพิธีถือศีลอดเมื่อไหร่เห็นดวงจันทร์และถึงกำหนดที่ต้องถือศีลอดแล้วชาวไทยมุสลิมต้องปฏิบัติดังนี้
1. นิยะฮฺ (เป็นภาษาอาหรับบางท้องถิ่นในอำเภอเมืองปัตตานีออกเสียงว่า เหนียด มีความหมายว่าการตั้งเจตนา) คือ ฉัน หรือข้าพเจ้าจะถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเพื่ออัลลอฮฺ
2. อดอาหารรวมทั้งเครื่องดื่มและงดการเสพทุกชนิดตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดินเป็นเวลา 20 - 30 วัน (ถือตามผลการดูดวงจันทร์ในวันที่ 29 ของเดือนเป็นหลัก)
3. กาลละศีลอดเมื่อถึงเวลา (ดวงอาทิตย์ตกดิน)
4. ขณะถือศีลอดให้ทำการละหมาดตามปกติ 5 เวลา
5. อ่านคัมภีร์อัล-กุรอ่านบ่อยๆ
6. ทั้งกลางวันและกลางคืนให้ละหมาดปกติวันละ 5 เวลา ส่วนในเดือนรอมฎอนนั้น ให้ละหมาดพิเศษหลังจากละหมาดปกติในเวลากลางคืนหลังจากละศีลอดแล้ว เรียกว่าละหมาดตะรอวีฮฺ ซึ่งเป็นการละหมาดไม่บังคับถ้าผู้ใดปฏิบัติถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและได้กุศลมากขึ้น
7. จะลุกขึ้นกินข้าวอีกครั้งหนึ่งเรียกว่า ซาโฮ ประมาณตี 3-4 ในตอนกลางคืน
เลขที่ : ต. จะบังติกอ อ. เมืองปัตตานี จ. ปัตตานี 94000
-
- aruneewan : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี :
-