มัสยิดบ้านบน หรือมัสยิดอุสาสนอิสลามแห่งนี้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2390 ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระราชทานทรัพย์ในการบูรณะปฎิสังขรณ์เมื่อครั้งเสด็จประพาสเกาะชวา และได้ทรงแวะที่เมืองสงขลา สมัยรัชกาลที่ 6 พระราชทานโคมไฟสีเขียวแก่มัสยิด โคมไฟนี้เป็นเครื่องสังเค็ดพระเมรุของรัชกาลที่ 5
แต่เดิม ก่อนการบูรณะครั้งใหญ่ เมื่อปี..... ประตูทางเข้ามีรูปทรงโค้งยอดแหลม เป็นศิลปะของอิสลามที่ผสมผสานกับศิลปะไทย แต่ก็ได้ถูกแก้ไขไปช่วงการบูรณะ ในปัจจุบันก็จะเหลือเพียงประตูเดียว คือประตูทางเข้าหออาซานอยู่ด้านทิศตะวันตกของมัสยิด
มัสยิดในอดีตเคยเป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลาถือว่าได้ว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพี่น้องชาวมุสลิมในจังหวัดสงขลานอกจากนี้รูปทรงของอาคารเป็นการผสมผสานของศิลปะไทยจีนเข้าด้วยกัน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทยคล้ายวิหารวัดมัชณิมาวาสวรวิหาร หออาซานเดิมเองก็มีความคล้ายลักษณะหอระฆังในวัดก่อนที่จะมีการต่อเติมโดมในภายหลัง เชื่อกันว่าในช่วงที่สร้างหออาซานเองเป็นช่วงเดียวกับที่สร้างวิหารวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร แม้ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็ไม่มีอะไรขัดต่อหลักการอิสลาม โต๊ะอิหม่ามคนแรกประจำมัสยิดชื่อ โต๊ะอิหม่ามซ๊ะ (เป็นต้นตระกูลอิหม่ามของประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา) โดยที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงออกถึงการผสมผสานของความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันเป็นอัตลักษณ์ของพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าสงขลา
เลขที่ : เลขที่ : ถนนพัทลุง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ต. บ่อยาง อ. เมืองสงขลา จ. สงขลา 90000 ต. บ่อยาง อ. เมืองสงขลา จ. สงขลา 90000
- คุณดนัย โต๊ะเจ
- ผศ.ดร.กรฤต นิลวานิช : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา :
- 0816964512