การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม เป็นงานอดิเรกหรือบางคนถือเป็นอาชีพเสริมของหญิงในอดีต โดยอาชีพหลักคือเกษตรกรรม การทำนา ทำไร่ เมื่อเสร็จสิ้นจากฤดูกาลทำนาแล้ว ชาวบ้านก็จะพากันเลี้ยงไหม ในอดีตจะเลี้ยงเพียง 1 – 2 รุ่น/ปี เท่านั้น เพราะจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำนา ในอดีตจะรวมกลุ่มกัน ช่วยกันทำหลาย ๆ คน ตั้งแต่กระบวนการกวักไหม สาวไหม ทอผ้าไหม และตัดเย็บ ต่อมาในปี 2556 บ้านสนวนได้เป็นชุมชนท่องเที่ยว การทอผ้าไหม เลี้ยงไหมเป็นอีกหนึ่งฐานการเรียนรู้จึงจะต้องมีการแสดงกรรมวิธีการเลี้ยงไหม ทำให้มีการเลี้ยงไหม 8-9 รุ่น/ปี การเลี้ยงไหมส่วนใหญ่เมื่อได้เส้นไหมแล้วก็จะนำส่งต่อสู่การทอของคนในชุมชนต่อไป จากคำบอกเล่าของนางเกสรา ขะจีฟ้า กรรมการหมู่บ้าน จะมีอยู่สองพันธ์ ที่นิยมเลี้ยงคือ ไหมพื้นบ้าน กับ พันธ์ไหมเหลืองไพโรจน์ พันธ์พื้นบ้านจะมีอยู่เวลาเลี้ยงนาน 3 เดือน จะได้แค่ 2 รุ่น เลี้ยงช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน 1 รุ่น จะได้แค่ 1 กิโลกรัม พันธ์เหลืองไพโรจน์ ใช้เวลาเลี้ยง 22 วัน เลี้ยงช่วงฤดูหนาว ประมาณช่วงเดือน ตุลาคม ถึง เดือน มกราคม 1 รุ่น จะได้ประมาณ 2-3 กิโลกรัม การเลี้ยงไหมต้องปิดมิดชิด โดยจะใช้มุ้ง ป้องกันแมลงวัน ไม่ให้รังไหมเสียหาย ส่วนใหญ่นิยมปลูกใบหม่อนพันธ์ บร.06 ใบใหญ่ ตัวไหม ภาษพื้นบ้านเรียกว่า โกนเนียง การเลี้ยงไหมของกลุ่มสมาชิกจะเลี้ยงบ้านของตนเองและมีการเลี้ยงรวมในอีกส่วนหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกัน การเลี้ยงไหมตั้งแต่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้จัดตั้งกลุ่มได้เลี้ยงไหมพันธุ์พื้นบ้าน เมื่อได้รับการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มแล้วได้รับคำแนะนำจากส่วนต่าง ๆ ให้เลี้ยงไหมพันธุ์ที่ให้เส้นไหมที่ดี ได้ปริมาณมาก เส้นไหมมีคุณภาพ ได้แก่ พันธุ์ดอกบัว เป็นพันธุ์ไหมไทยแท้ที่ให้ปริมาณเส้นไหม ประมาณ 16 - 18 กิโลกรัมต่อกล่อง ซึ่งไหม 1 กล่องจะมีปริมาณตัวไหม ประมาณ 5,000 - 6,000 ตัว โดยปกติวงจรชีวิตของหนอนไหมเริ่มตั้งแต่เป็นไข่จนเป็นผีเสื้อ จะใช้เวลา ประมาณ 43 - 45 วัน โดยวงจรชีวิตของตัวไหมจะมีวงจรชีวิต ดังนี้
เลขที่ : 110 บ้านสนวนนอก หมู่ที่ 2 ต. สนวน อ. ห้วยราช จ. บุรีรัมย์ 31000
- นางเกสรา ขะจีฟ้า
- ดร.จิรายุฑ ประเสริฐศรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ :
- 08 9716 5095