AA-90000-00004
หน้าพรานประดับลูกปัด
Hunter Mask with Beads
ประเภทวัฒนธรรม
จับต้องได้ : Tangible.
หมวดหมู่วัฒนธรรม
โบราณวัตถุ
AA:Archeological Artefact
ประวัติศาสตร์
ข้อมูล/ประวัติ
‘มโนราห์’ คือ ศิลปะพื้นเมืองภาคใต้ โดยคำเรียก ‘มโนห์รา’ เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากการนำเอาเรื่อง ‘พระสุธน-มโนราห์’ มาแสดงเป็นละครชาตรี ส่วนประวัติความเป็นมาของกำเนิดของโนรานั้น นักโบราณคดีไทย ได้คาดการณ์กันว่า การร่ายรำประเภทนี้ ได้รับอิทธิพลมาศิลปะการแสดงประเทศอินเดียโบราณ เกิดขึ้นก่อนสมัยศรีวิชัย เสียอีก โดยมาจากพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาค้าขายกับประเทศไทย โดยวิเคราะห์จากเครื่องดนตรี เรียกว่า ‘เบญจสังคีต’ อันประกอบด้วย โหม่ง , ฉิ่ง , ทับ , กลอง ,ปี่ และใน รวมทั้งท่าร่ายรำอันมีความละม้ายคล้ายคลึงกับ ท่าร่ายรำของ อินเดีย เชื่อกันว่ามโนราห์ เกิดขึ้นครั้งแรก ณ หัวเมืองพัทลุง ก่อนที่จะเริ่มคืบคลายแผ่ขยายไปยังหัวเมืองอื่น ๆของภาคใต้ จวบไปจนถึงภาคกลาง และกลายเป็นละครชาตรีในที่สุดนอกจากมโนราห์แล้ว ยังมีตัวละครที่แสดงควบคู่กับมโนราห์ คือ ตัวละครนายพราน ซึ่งมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงหลัก คือ หน้ากากพราน มักจัดแสดงเปิดโรงมโนราห์ โดยหน้ากากที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา มีดังนี้ 1.หน้าพรานประดับขนขก วัดจะทิ้งพระ มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เมื่อ พ.ศ. 2524 2.หน้าพรานประดับลูกปัด นายเชื้อ ห้องโสภา มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เมื่อ พ.ศ. 2524 3.หน้าพรานสี


ที่ตั้ง
เลขที่ : ต. บ่อยาง อ. เมืองสงขลา จ. สงขลา 90000
บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- คุณธีรนาฏ มีนุ่น
ผู้บันทึกข้อมูล
- ผศ.ดร.กรฤต นิลวานิช : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา :
ช่องทางติดต่อ
- 097 075 2955
มีผู้เข้าชมจำนวน :626 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 20/08/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 20/08/2022